Cities Reviews

บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ " โครงการหาดใหญ่ การออกแบบเมืองสุขภาวะแบบมีส่วนร่วม "

บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ
" โครงการหาดใหญ่ การออกแบบเมืองสุขภาวะแบบมีส่วนร่วม "
5 หน่วยงาน ระหว่าง ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง, เทศบาลนครหาดใหญ่, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, ชุมชนรอบคลองเตย, สำนัก 3 สสส. ในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2565 ณ เทศบาลนครหาดใหญ่ 
 
 
งานครั้งนี้โดยมี พล.ต.ท.สาคร ทองมุณี นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ เป็นประธาน มีผู้เข้าร่วมทั้งหมดหลายภาคส่วน อาทิ นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย ตัวแทนภาคประชาชน 16 ชุมชมรอบคลองเตยและมีภาคีเครือข่าย
บันทึกความร่วมมือครั้งนี้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าแต่ละหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการพัฒนาเมือง จะมุ่งมั่นร่วมกันดำเนินโครงการหาดใหญ่ : การออกแบบเมืองสุขภาวะแบบมีส่วนร่วม (HatYai : Healthy City Co-Design) เพื่อพัฒนาเมืองหาดใหญ่ให้น่าอยู่ มีระบบนิเวศที่สร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี สอดคล้องกับวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ของคนในท้องถิ่นให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี
 
 
 
 
 
 
ทั้งนี้ พล.ต.ท.สาคร ทองมุณี นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ หรือที่คนเรียกติดปากว่า "พี่หลวงสาคร" ได้กล่าวว่า การพัฒนาชุมชนตามแนวคลองเตย ก็เป็นบริเวณที่เทศบาลนครหาดใหญ่มีแผนจะพัฒนาเช่นกัน เพราะคลองเตยเป็นสายน้ำที่คู่กับหาดใหญ่มาเกือบ 100 ปี ซึ่งจะคัดเลือกพื้นที่นำร่อง พัฒนาให้เป็นย่านเศรษฐกิจการค้าการท่องเที่ยว และพื้นที่สีเขียวของหาดใหญ่ ให้สอดคล้องกับที่หาดใหญ่ได้รับการรับรองให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO พื้นที่คลองเตยจะมีคุณค่าเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน จากโครงการการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมที่ศูนย์ศึกษามหานคร ได้ร่วมกับ สสส. ดำเนินการ และทางเทศบาลนครหาดใหญ่ก็จะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่แน่นอน
 
 
 โครงการหาดใหญ่ การออกแบบเมืองสุขภาวะแบบมีส่วนร่วม
 

          ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง และสำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ริเริ่มการพัฒนาเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิด Healthy City Co-Design นำร่องการพัฒนาเมืองด้วยแนวทางดังกล่าวที่เมืองหาดใหญ่ ในโครงการชื่อ หาดใหญ่ : การออกแบบเมืองสุขภาวะแบบมีส่วนร่วม (HatYai : Healthy City Co-Design) ร่วมกับเทศบาลนครหาดใหญ่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และชุมชนในเมืองหาดใหญ่ มีวัตถุประสงค์ คือ ออกแบบพื้นที่คลองเตยและชุมชนรอบข้างอย่างมีส่วนร่วมของหลายภาคส่วน (ท้องถิ่น มหาวิทยาลัย และชุมชน) เพื่อมุ่งสร้างเมืองสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีที่ตอบโจทย์คนในเมืองหาดใหญ่

          ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากโครงการออกแบบเมืองสุขภาวะแบบมีส่วนร่วม พื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่ จะเป็นกรณีตัวอย่างสำหรับการพัฒนาแนวทางและรูปแบบใหม่ของการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนเขตเมืองแบบมีส่วนร่วมหลายภาคส่วน และนำสู่การขยายผลการเป็นต้นแบบการเรียนรู้ของเมืองอื่น ๆ ได้

 
 

ภาพ กรอบเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการออกแบบเมืองสุขภาวะแบบมีส่วนร่วม Healthy City Co-Design

 
 ที่มา ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง 2565
 
 
ภาพ  บริเวณคลองเตยในศูนย์กลางเมืองหาดใหญ่
 
 
 ที่มา จิฬา แก้วแพรก, 2565
 
 
 
 

Related Posts