กระบวนการเสริมสร้างความรู้และทักษะด้านการออกแบบสุขภาวะเมือง โดยสร้างการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดมุมมองในการออกแบบเมืองสุขภาวะอย่างรอบด้านมากยิ่งขึ้น ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและพัฒนาเมืองเป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง การสร้างแบรนด์ของเมือง (City Branding) นวัตกรรมสู่การสร้างเศรษฐกิจเมือง ให้แก่นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่เทศบาลนครหาดใหญ่ และชุมชน
กรุงเทพมหานคร เมืองที่ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองที่มีเรื่องราวมากที่สุดเมืองหนึ่ง เมืองขนาดใหญ่ที่มีซับซ้อนและมีแง่มุมหลากหลาย และมักจะถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่เสมอในเรื่องความล้มเหลวของการพัฒนาเมืองทั้งที่เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครกลับเป็นเมืองที่ได้รับเสียงชื่นชมจากนโยบายฟื้นเมือง เชื่อมย่าน สานอนาคต ที่มีแกนนำกรุงเทพมหานคร ร่วมกับหลายหน่วยงานหลายภาคส่วน ฟื้นคลอง ฟื้นย่านต่างๆ จนมีรูปธรรมเป็นที่ประจักษ์ โดยเฉพาะการฟื้นคลอง 3 คลอง อย่างคลองหอยหลอด คลองโอ่งอ่าง และคลองผดุงกรุงเกษม ทำให้ได้รับรางวัลด้านการพัฒนาเมืองมากมาย กรุงเทพมหานครเองก็เริ่มจะเป็นต้นแบบการพัฒนาเมืองบ้างแล้ว พวกเขาทำได้อย่างไร ได้รับรางวัลด้านการพัฒนาเมืองมากมายด้วยศูนย์ศึกษามหานครและเมือง ได้รับเกียรติจากคุณพงศกร ขวัญเมือง อดีตโฆษกของกรุงเทพมหานคร ผู้ที่มีประสบการณ์ร่วมขับเคลื่อนฟื้นย่าน ฟื้นคลองของกรุงเทพฯ มุมมองจากการทำงานนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้สร้างและพัฒนาเมือง อะไรคือมุมมองและประสบการณ์ที่สำคัญของการพัฒนาฟื้นคลองและการพัฒนาเมืองที่ผ่านมา และอะไรคือสิ่งที่ผู้นำและผู้ปฏิบัติของเมืองต่างๆ ควรเรียนรู้
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศตวรรษที่ 21 ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลกอย่างรวดเร็วและรุนแรง ส่งผลให้มีการพยายามคิดค้นและมองหาแนวคิดยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจเมืองแบบใหม่เพื่อให้เมืองได้ปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อย่างเท่าทัน แนวคิดการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรม หรือ ย่านนวัตกรรม (Innovation District) ก็เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจเมืองที่ได้รับความสนใจมากขึ้นในฐานะแนวทางการพัฒนาเมืองแบบใหม่ ที่อาจตอบสนองต่อความต้องการและการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในเมืองได้ด้วยนวัตกรรม
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ "โครงการหาดใหญ่ การออกแบบเมืองสุขภาวะแบบมีส่วนร่วม"