
ถอดรหัส…เมืองใหญ่
อรุณ สถิตพงศ์สถาพร
1. ผู้แทนของกรุงเทพมหานคร นายแพทย์ สุนทร สุนทรชาติ
1.1 สถานการณ์ของกรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีตึกสูง คอนโดมีเนียม สีลม พารากอน แต่ภายหลังตึกสูงเหล่านั้นยังมีชุมชนหลายชุมชนผสมผสานจำนวนมาก มีชุมชนแออัด ชุมชนเกษตรกรรม กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ 1,568 ตร.กม. ประชากร 5.9 ล้านคนในทะเบียนบ้าน สำนักงานสถิติแห่งชาติประเมินว่าประมาณ 10 ล้านคน มหาวิทยาลัยมหิดลเสนอตัวเลขประชากรประมาณ 12 ล้านคน กรุงเทพมหานครมีผู้คนหลากหลาย
คนจะเข้ามาอยู่ในเมืองใหญ่ ทุกเมืองจะมีการพัฒนาเป็นเมืองใหญ่มาโดยตลอด ถ้าพิจารณาจากประชากรกรุงเทพฯ คนข้างล่างจะเป็นคนอายุน้อย คล้าย "รูปคณโฑ" คนอายุน้อยมีจำนวนน้อยกว่าคนระดับกลาง ซึ่งตรงกลางนี้อีกสิบปีก็จะเป็นผู้สูงอายุ สังคมกรุงเทพฯเข้าเป็นสังคมผู้สูงอายุ 100 % ดังนั้นจึงควรจัดเมืองให้เหมาะสมกับผู้สูงอาย
กรุงเทพมหานครมีโรงพยาบาลจำนวนไม่มากนักเพียง 7 แห่ง แต่กรุงเทพฯมีโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย 5 แห่ง โรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 3 แห่ง โรงพยาบาลทหาร 3 แห่ง และมีศูนย์บริการสาธารณสุขประจำอยู่ใน 50 เขต จำนวนทั้งสิ้น 68 แห่ง ถ้าเปรียบเทียบกับต่างจังหวัดคือโรงพยาบาลชุมชน กรุงเทพฯมีคลินิกต่างๆจำนวน 4,000 กว่าแห่ง ในจำนวนนี้เป็นคลินิกเพื่อความงาม 1,000 กว่าแห่ง และมีคลินิกที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพ 200 กว่าแห่ง
เมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว ท่านผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ไปพูด "โครงการพันเมืองพันชีวิต" มีหลายเมืองเข้าร่วม ที่เข้าร่วมโครงการนี้ เพื่อให้ผู้นำแต่ละเมืองกล่าวถึงวิสัยทัศน์ทางด้านสุขภาพ เวลาต่างชาติมองเมืองที่มีสุขภาพดีไม่ได้มองจำนวนคนเจ็บคนป่วย แต่พิจารณาเรื่อง health outcome คำว่า health คือ สุขภาวะ ดูสุขภาวะองค์รวมทั้งหมด
ในเรื่องของการมีประกันสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ บัตรประกันสังคม สปสช. มี 94.5% ผู้ชายติดบุหรี่ค่อนข้างสูง 32 ต่อแสน ผู้หญิง 1.57 ต่อแสน ปัจจุบันผู้หญิงสูบน้อยลง ส่วนผู้ชายมีจำนวนสูงขึ้น การเข้าถึงน้ำสะอาดก็อยู่ร้อยละ 94.3 ช่วงสี่ปีที่แล้วดำเนินการตรวจตัวชี้วัดหลักพบว่า กทม.มีการจัดงบประมาณเพื่อหาน้ำประปา ไฟฟ้า ทำให้คนกรุงเทพมหานคร health indicator ที่ดีขึ้น มีอัตราการว่างงานที่ไม่มากนัก ร้อยละ 0.4 ซึ่งอัตราการว่างงานเป็นองค์ประกอบ (determinant) ที่ทำให้คนมีสุขภาพดี รวมทั้งการศึกษาด้วย ถ้าไปวัดในเมืองใหญ่ๆทั่วทั้งประเทศ ส่วนใหญ่เมืองของไทยผ่าน ในคราวที่ท่านผู้ว่าราชการฯไปนำเสนอที่ญี่ปุ่น กรุงเทพมหานครอยู่ในเกณฑ์ดีเมื่อเปรียบเทียบกับเมืองในภาคพื้นเอเชีย
1.2 ปัญหาที่กรุงเทพมหานครเผชิญอยู่และวิธีการจัดการปัญหา
คนกรุงเทพมีความสุขน้อยกว่าคนนนทบุรี คนขอนแก่น เพราะทุกวันมีการเร่งรัดให้คนรีบร้อน รีบทำงาน ในภาพของเมืองใหญ่จะมีพลวัต ทุกวันนี้คนเมียนมาร์เป็นผู้ประกอบการ เมื่อก่อนเป็นลูกจ้าง อย่างไรก็ตาม เรื่อง food safety เฉพาะคนไทยยังคุยกันรู้เรื่องว่า อาหารปลอดภัยเป็นอย่างไร ปีหน้าองค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดเป็นปีอาหารปลอดภัย สี่ปีแรกนโยบายยุคแรกทั้งชีวิตเราดูแล ยุคที่สองรักกรุงเทพ ร่วมสร้างกรุงเทพ จะเห็นว่านโยบายมีการ change ความจริงที่ปรากฏคือ ถึงแม้ดูแลเขาทั้งชีวิต แต่คนในกรุงเทพฯต้องลุกขึ้นมารักเมือง รักตัวเองด้วยกัน การมีสุขภาพดี ไม่ได้อยู่ที่แพทย์
ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ศ.นพ. รัชตะ ประกาศนโยบายหมอครอบครัว หมายถึงทุกคนจะมีผู้ดูแล มี mentor มีผู้จัดการสุขภาพ ประกอบด้วย บุคลากรทางการแพทย์ดูแล ไม่จำเป็นต้องเป็นหมอ เป็นพี่น้องพยาบาลร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) เป็นทีมในการคัดเลือกดูแล กรุงเทพฯทำมานานหลายสิบปี มีกว่า 400 ทีม
ปัญหาการจราจร อาหารปลอดภัย ความยากจน ความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาสุขภาพที่เป็นโรคคนเมือง ที่เรียกว่า โรค metabolic เบาหวาน ความดันโลหิต ซึ่งเกิดจากการมีคุณภาพชีวิตไม่ดี เรื่องของ green space สวนสาธารณะ เมื่อทำตามตัวชี้วัด ก็พอจะมองออกว่า เมืองมีปัญหาอะไร
ในทุกปีการจัดทำงบประมาณก็มีการทำนโยบายยุทธศาสตร์คุณภาพชีวิต 4 ปีที่แล้วมีการปรับแผนสุขภาพกรุงเทพฯ "Healthy Bangkok Plan" ตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างการประเมินแผน และจัดทำแผนถัดไป สุขภาพคนเมืองกรุงเทพมหานคร สุขภาวะไม่ใช่เรื่องสุขภาพ เป็นเรื่องการศึกษา ถนนหนทาง น้ำประปา ไฟฟ้า เอาตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องของแต่ละหน่วยงานในกทม. มารวมกัน มีคนประเมิน อันนี้เป็นส่วนที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
แผนนี้ใช้แล้วเพิ่งจบไป และขณะนี้กำลังจัดทำแผนใหม่ เริ่มปี 2558 - 2562 ทุกปีก็จะมีแผนยุทธศาสตร์ของเมือง ซึ่งมาจากหลากหลาย เช่น มาจากข้าราชการประจำบ้าง มาจากทำ public hearing เช่น 20 ปีกรุงเทพมหานครจะเป็นอย่างไร เก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งเป็นการวางแผนของท่านผู้ว่า ส่วนแผนสุขภาพชุมชนนั้น รวบรวมข้อมูลจากแผนแล้วนำมาเป็นตัวชี้วัด แผนพัฒนาเมืองเป็นแผนลูก
ปัญหาสุขภาวะไม่ใช่เฉพาะเมืองหนึ่ง เวลาทำงานนั้นปัญหาสุขภาวะไม่มีเขตเมือง จึงต้องทำร่วมกับพื้นที่ใกล้เคียง ปทุมธานี สมุทรปราการ นนทบุรี เพราะฉะนั้นพลังของท้องถิ่นจึงต้องช่วยกัน วิสัยทัศน์ของผู้นำนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ พวกเราต้องลุกขึ้นมา มาช่วยกันทำให้เมืองและสังคมของเรามีความสุข เราจึงต้องรู้จักสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ ทั้งสามอย่างจะทำให้คนเป็นพลเมืองหรือภาระของเมือง
2. ผู้แทนของเมืองนนทบุรี นายสมนึก ธนเดชากุล นายกเทศมนตรีเทศบาลนครนนทบุรี
2.1 สถานการณ์ปัจจุบันของนครนนทบุรี
เมืองนนทบุรีมีแม่น้ำล้อมรอบ มีประชากรที่หนาแน่น จึงมีปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาเรื่องขยะ มีขยะ 400 กว่าตันต่อวันเฉพาะในเขตเทศบาล รวมทั้งจังหวัด 1,000 กว่าตันต่อวัน จะเห็นว่ามีขยะจำนวนมาก ปริมาณน้ำเสีย การจราจรติดขัด ซึ่งเป็นปัญหาของเมือง นอกจากนั้น เทศบาลยังต้องดูแลผู้สูงอายุ เพราะปัญหาผู้สูงอายุ เนื่องจากการพัฒนาทั้งด้านโภชนาการและด้านสาธารณสุขที่ดีขึ้น ผู้สูงอายุจึงมีจำนวนมากขึ้น เดิมมีเพียง 17-18 % ปัจจุบันทีถึง 20 % เทศบาลจึงปรับปรุงส่วนต่างๆ เช่น ผังเมือง การป้องกันน้ำท่วม การรุกล้ำที่สาธารณะต่างๆ เห็นได้ว่ามีชุมชน ประชาชนที่ย้ายเข้ามาใช้เป็นที่อยู่อาศัย คล้ายๆกับ กทม. เมื่อไม่มีที่อยู่อาศัย ก็รุกล้ำที่สาธารณะ เป็นปัญหาส่วนหนึ่ง เทศบาลพยายามหาที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้รุกล้ำที่สาธารณะ เพื่อให้เกิดความสวยงาม มีการระบายน้ำที่ดีขึ้น
นอกจากนั้น ก็มีการรณรงค์ปัญหาการคัดแยกขยะ นำขยะมารีไซเคิลจำนวนทั้งสิ้นประมาณวันละ 100 กว่าตัน หมักเป็นปุ๋ยชีวภาพ ขยะแห้งนำมารีไซเคิล จัดกิจกรรมให้ความรู้ในการคัดแยกขยะต่างๆ ชุมชน โรงเรียน และวัด ประชุมและสัมมนาพูดถึงการคัดแยกขยะ เช่น ขยะเปียกมาทำปุ๋ย EM นำขยะแห้งมารีไซเคิล สามารถลดปริมาณขยะได้ถึง 28 % ภายในหนึ่งวันลดขยะได้ 100 ตันจากขยะทั้งสิ้น 400 ตัน
เทศบาลได้รณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองของตนเอง นอกจากนั้น ยังมีการทำขยะสด ทำปุ๋ย การทำปุ๋ยอินทรีย์ของนนทบุรี ขยะสดที่นำไปทำนั้นใช้ได้วันละ 5 ตัน รวมถึงมีโครงการคัดแยกแยกโฟม เทศบาลได้ประสานงานกับห้างสรรพสินค้าต่างๆ ให้คัดแยกโฟมไว้ต่างหาก เทศบาลสามารถคัดแยกและนำโฟมไปขายคืนให้ 9,000 กิโลกรัมต่อปี เป็นการนำขยะย่อยสลายยากไปกำจัดให้ถูกต้องตามหลักวิธีต่อไป
นนทบุรีไม่มีโรงพยาบาลของตนเอง มีเพียงศูนย์สาธารณสุขต่างๆ เทศบาลจึงพยายามรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชน โดยให้ อสม. และเจ้าหน้าที่ทำงานร่วมกัน นอกจากนั้น ยังจัดทำศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ปัจจุบันมีสมาชิก 6,000 คน ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุมีส่วนทำให้ผู้สูงอายุมีโอกาสออกจากบ้าน บางท่านมีความรู้เรื่องดนตรี ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ก็จะมาเป็นอาจารย์สอน จะเห็นได้ว่าชมรมผู้สูงอายุ หรือศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ หากประชาชนกลุ่มนี้อยู่ที่บ้านจะเหงา ถ้ามาที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพฯจะ มีสังคมของเขาเอง โดยในศูนย์นี้จะมีผู้ทำงานจิตอาสา 80 คน ที่มีความรู้เรื่องดนตรี มีความรู้เรื่องลีลาศ มีความรู้เรื่องภาษาอังกฤษ ก็จะมาสอน จะเห็นได้ว่าศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เป็นจุดหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุได้ออกกำลังกายด้วย พบปะสังสรรค์กัน และไม่อยากให้เรียกผู้ร่วมกิจกรรมว่าผู้สูงอายุ แต่ให้เรียกว่าเป็น"ผู้เชี่ยวชาญชีวิต" (ชชช) แทน
2.2 ปัญหาที่นครนนทบุรีเผชิญอยู่และวิธีการจัดการปัญหา
เรื่องแรก น้ำท่วม เขตเทศบาลนนทบุรีติดกับแม่น้ำดังที่ได้กล่าวช่วงต้น เทศบาลมีการปรับปรุงขุดลอกคูคลอง ทำคลองระบายน้ำ ประกวดคลองสวยน้ำใส เมื่อก่อนจัดเพื่อให้ประชาชนมีจิตสำนึกว่า คลองทุกคลองทุกคนต้องไม่ทิ้งขยะ
เรื่องต่อมาคือ สิ่งปฏิกูล ตามแนวพระราชดำริของพระบาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีพระราชดำรัสถึงเรื่องการที่คนกรุงเทพ คนที่พักอาศัยกทม. นนทบุรี ซื้อของในตลาดมารับประทาน ตอนเช้าก็มาถ่าย รถดูดส้วม ดูดสิ่งปฏิกูล ผ่านไปคลองตรงไหน ค่ำคืนมีการปล่อยของเสียเหล่านี้ เป็นการแพร่เชื้อโรค เทศบาลนครนนทบุรีจัดซื้อที่ใน พ.ศ. 2545 ดำเนินการจัดการโรงปุ๋ยชีวภาพ เทศบาลได้ปรับปรุงกับวัสดุเหลือใช้
อีกเรื่องคือ ปัญหาการจราจร การจราจรทุกวันนี้ เห็นได้ว่าสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา สะพานพระรามห้า สะพานพระรามเจ็ด สะพานพระนั่งเกล้า สะพานพระรามสี่ เป็นส่วนหนึ่งของการระบายการจราจรจากฝั่งตะวันตกมาตะวันออก ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่ไม่ถูกต้อง เพราะถนนฝั่งตะวันตกด้วนแค่จรัญสนิทวงศ์ เหตุใดจึงไม่ขยายถนนฝั่งตะวันตกจากจรัญสนิทวงศ์ไปถึงปทุมธานี คนฝั่งตะวันตกก็ไม่จำจำเป็นต้องมาฝั่งตะวันออกก็ได้ ปัญหาจราจรต้องดูภาพรวม กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี เพราะคนทั้งสามจังหวัดจะเชื่อมโยงมากรุงเทพฯ การจราจรจึงต้องเชื่อมโยงระหว่างเมือง ไม่ใช่ทำเฉพาะเมืองของตนเอง
วิสัยทัศน์ของผู้นำต้องคิดให้ทัน ทันองค์กรต่างๆ ต้องรู้เท่าทัน ทำอย่างไรจะไม่ให้คนในกระทรวงไปเป็นบอร์ดในที่ต่างๆ เพื่อไม่เอาเปรียบพี่น้องประชาชนที่มาใช้บริการ
3. ผู้แทนของเมืองขอนแก่น นายธีระศักดิ์ ฑีฑายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีเทศบาลนครขอนแก่น
3.1 สถานการณ์ปัจจุบันของนครขอนแก่นในวันนี้
ช่วงเวลาเพียง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา ขอนแก่นเติบโตแบบก้าวกระโดด ก่อนหน้านี้เมื่อปีที่ผ่านมา ขอนแก่นมีเที่ยวบินเพียงสองเที่ยวบิน ภายในระยะเวลาปีเศษมีสิบกว่าเที่ยวบิน สนามบินออกแบบเอาไว้นั้น สามารถรองรับรับผู้โดยสารปีละ 1 ล้านคน ขณะนี้ไม่ถึงปีมีผู้โดยสารกว่า 900,000 คน สัญญาณของเมืองใหญ่ที่ถูกความเจริญเข้ามาคุกคาม ดังเช่น ปัญหาการจราจร คล้ายกับนครนนทบุรี และน่าจะไม่ต่างจากกรุงเทพมหานครในวันข้างหน้า ขณะนี้ถ้าคนขอนแก่นจะเดินทางออกจากบ้านต้องมีการวางแผนเดินทาง มิเช่นนั้นก็อาจไม่ทันเวลาที่นัดหมาย ปัญหาการจราจรเหล่านี้กำลังคุกคามและรุนแรงมากขึ้น นอกจากนั้นยังมีปัญหามลพิษ มลภาวะสิ่งแวดล้อม ปัญหาการจัดการขยะ สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาเมืองและนครขนาดใหญ่ ขณะเดียวกันปัญหาสังคมในเมืองขอนแก่นพบว่า มีแรงงานข้ามชาติย้ายตามกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม ปัญหาการอพยพแรงงานจากเมืองเล็กและภาคชนบทหลั่งไหลเข้าสู่เมืองใหญ่ สิ่งเหล่านี้เป็นประเด็นที่ยังรอการแก้ไข
เมืองขอนแก่นค่อนข้างโชคดีกับระบบสาธารณสุข ถึงแม้เทศบาลนครขอนแก่นจะไม่มีโรงพยาบาลในสังกัด แต่เทศบาลนครขอนแก่นก็มีศูนย์แพทย์ถึง 10 ศูนย์ เพื่อกระจายการดูแลให้แก่ประชาชนในเขตเทศบาล แต่ปัจจุบันนี้ปัญหาด้านสาธารณสุข คือ โครงการด้านสุขภาพไม่นำไปสู่ความยั่งยืน ยกตัวอย่างเช่น การทำโครงการของบประมาณในอดีต กรณีการของบประมาณเต้นอารบิก เมื่อสิ้นสุดโครงการนี้แล้ว ปีหน้าก็มีการของบประมาณอีกครั้ง ซึ่งพบว่าเงินของโครงการ สุดท้ายไม่ได้สร้างความยั่งยืน ดังนั้นจึงนำไปสู่การวิเคราะห์เพื่อหาข้อยุติในเบื้องต้นผ่านการพัฒนามากกว่า 5 ปี และพบว่าควรกลับไปสู่พื้นฐาน คือ ให้ประชาชนมีความรู้และความเข้าใจเรื่องอาหาร สารเคมี ยา ฯลฯ โดยมุ่งเน้นให้ความรู้แก่ประชาชน เมื่อประชาชนมีความรู้ติดตัวก็นำไปสู่การดูแลสุขภาพตนเอง
3.2 ปัญหาที่นครขอนแก่นเผชิญอยู่และวิธีการจัดการปัญหา
ปัญหาการจราจรก็คล้ายกับหลายเมืองคือ วิ่งเต้นของบประมาณจากภาครัฐ ถ้าโชคดีก็ได้ไป ถ้าโชคไม่ดีก็มีคำตอบแบบง่ายๆอ้างว่าไม่มีนโยบาย เทศบาลนครขอนแก่นเคยศึกษาโครงการระบบขนส่งสาธารณะ BRT เพราะเส้นทางที่เลือกลงได้คือ ถนนมิตรภาพมี 12 เลน อีกทั้งยังเป็นระบบที่ค่าก่อสร้างต่อกิโลเมตรต่ำที่สุด เฉพาะสายแรกที่นำร่องมูลค่าประมาณ 1,400 ล้านบาท พยายามเสนอต่อรัฐบาลหลายชุด ในเมื่อเส้นทางนี้เดินไม่ได้ ก็เลยเปลี่ยนเป็นอีกเส้นทาง
ตอนนี้เทศบาลนครขอนแก่นกำลังจัดตั้งบริษัทจำกัดของเทศบาล คล้ายกรุงเทพธนาคมของกทม. โดยมีนักธุรกิจคนขอนแก่นสายเลือดใหม่รวมตัวกัน 20 คน จัดตั้งตั้งบริษัทของคนขอนแก่นเองในชื่อ "ขอนแก่น ทิงค์ แทงค์" ที่จะจดทะเบียนเป็นบริษัท ในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2558 ตั้งขึ้นเพื่อรวมกับบริษัทจำกัดเทศบาล เพื่อพัฒนาโครงการต่างๆ เช่น ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ อีกโครงการหนึ่งที่เตรียมไว้คือ สร้างศูนย์ประชุมในระดับนานาชาติ เพราะขอนแก่นเป็นหนึ่งในห้าเมืองในประเทศไทย ที่ได้รับเลือกเป็น mice city เป็นเมืองศูนย์กลางการประชุมและสัมมนา ถึงแม้ว่าเมืองขอนแก่นมีศูนย์ประชุมของมหาวิทยาลัยขอนแก่น แต่ก็ยังไม่พร้อมที่จะแสดงสินค้าระดับนานาชาติ งานจัดประชุมและสัมมนา (convention) ต่างๆ ดังนั้นจึงต้องสร้างศูนย์ประชุมที่มีพื้นที่หมื่นกว่าตารางเมตร นักธุรกิจกลุ่มนี้พร้อมที่ลงทุนคนละ 10 ล้านบาท เพื่อจดทะเบียน 200 ล้านบาท เมื่อเทศบาลสามารถผ่านอุปสรรคการจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดเทศบาลได้ จะทำโครงการขนส่งมวลชนสาธารณะร่วมกัน ปัจจุบันนี้ต่างฝ่ายมีความคืบหน้า
ล่าสุดเทศบาลนครขอนแก่นได้เชิญตัวแทนตลาดหลักทรัพย์ทำเรื่องกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานจังหวัดขอนแก่น ไม่นานมานี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคมนาคมมาเยือน และเสนอให้เปลี่ยนชื่อเป็น "ขอนแก่น อินฟราสตรัคเจอร์ ฟันด์" เดิมทีใช้ชื่อกองทุนโครงสร้างพื้นฐานจังหวัด (Provincial Infrastructure Fund หรือ PIF) เป็นกองทุนรวมที่ทำโครงสร้างพื้นฐานของจังหวัดขอนแก่น ซึ่งสร้างกระแสตื่นตัวคนในเมืองขอนแก่น
ส่วนระบบการจัดการขยะก็ทำมาหลายปี ตอนนี้มีบริษัทเอกชนมาดำเนินการสร้างโรงงานให้ เปลี่ยนขยะเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยเริ่มลงเสาเข็ม เดือนสิงหาคม 2558 น่าสร้างเสร็จ ภายในตุลาคม 2558 จะสามารถดำเนินการเปลี่ยนขยะเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ ส่วนการจัดการขยะแยกเป็นสี่เรื่อง ขยะเป็นพลังงานไฟฟ้า ขยะพลาสติกเป็นน้ำมัน ขยะติดเชื้อ และพัฒนาระบบสถานีขนถ่ายขยะ
เรื่องระบบสาธารณสุขมีศูนย์แพทย์ 10 แห่ง ขอนแก่นเป็น medical hub เป็นศูนย์กลางการบริการทางแพทย์ที่เป็นเลิศของประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง มีโรงพยาบาลศรีนครินทร์ เป็นศูนย์กลางด้านการแพทย์ เครือข่ายสาธารณสุขขอนแก่นเข้มแข็งมาก แต่ก็มีบทเรียนคือ เมื่อเข้มแข็งมากก็เปราะบางหรือแตกง่าย ยกตัวอย่าง ขอนแก่นมีเครือข่ายรณรงค์เรื่องแอลกอฮอล์ที่เข้มแข็งเป็นลำดับต้นๆของประเทศไทย แต่มียอดขายวิสกี้อันดับ 1 ของภาคอีสาน ยอดขายเบียร์เป็นอันดับหนึ่งหรือสองแข่งกับนครราชสีมา
สัญญาณของเมืองใหญ่ในปัจจุบันก็คล้ายกับกรุงเทพฯ สิ่งที่เน้นเป็นพิเศษคือ ความเป็นเมืองน่าอยู่ เพิ่มเติมเรื่องอารยสถาปัตย์ (Universal Design) เทศบาลขอสัมปทานเพื่อวิ่งรถโดยสารปรับอากาศขนาดเล็ก (shuttle bus) ในเขตเมือง ให้ประชาชนได้เรียนรู้และพยายามลดการใช้รถส่วนบุคคล เป็นระบบรถเมล์ชานต่ำ (Low Floor) เพื่อรองรับการบริการกลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้สูงอายุ เป็นต้น รวมถึงการปรับปรุงทางลาด ทางชัน การปรับปรุงอาคาร การปรับปรุงสวนสาธารณะ เพื่อคนพิการ กำลังคืบหน้าไปได้ด้วยดี รณรงค์เรื่องขยะ การปลูกจิตสำนึกเรื่องขยะ ผ่านโครงการขอนแก่นโลว์คาร์บอน ซิตี้ เพื่อก้าวสู่เมืองคาร์บอนต่ำ
3.3 วิสัยทัศน์ของผู้นำเมืองใหญ่ ควรเป็นอย่างไร และนำไปสู่อะไร
วิสัยทัศน์ของเมืองขอนแก่นคือ "พัฒนาเมืองสู่สากล สร้างสังคมแห่งความสุข" แต่การจะจัดการในระยะยาว แนวทางในการแก้ไขปัญหาประเทศในระยะยาว สิ่งที่ตกผลึกร่วมกันคือ เรื่องการศึกษา สิ่งที่ยั่งยืนคือการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่นวางระบบปฏิรูปการศึกษาใหม่ ใช้คำว่า "blueprint ทางการศึกษาของเทศบาลนครขอนแก่น" มี 4 ข้อหลัก 1. ต้องมีคุณลักษณะพึงประสงค์ 5+1 ได้แก่ มีวินัย มีความอดทน มีความรับผิดชอบ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความกตัญญู และบวกหนึ่งคือ มีสำนึกรักท้องถิ่น 2. มาตรฐานการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลับไปสู่ความเรียบง่ายที่สุด เด็กทุกคนที่จบต้องอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น และมีทักษะชีวิต หมายความว่าจบไปแล้วคิดเป็น ไม่ใช่จบไปแล้วสามารถสอบได้ เด็กที่จบไปแล้วต้องเรียนรู้ที่จะคิดเป็น 3. เรียนรู้ภาษาต่างประเทศไม่น้อย 1 ภาษา 4. รู้เท่าทันเทคโนโลยี
Blueprint การศึกษาของเทศบาลนครขอนแก่น คือ ทำเอาไว้เพื่อสร้างเด็กรุ่นใหม่ แล้วไปแก้ไขปัญหาประเทศที่ยั่งยืนที่สุด การสร้างคน คนเหล่านี้จะแก้ไขปัญหาได้ โดยสรุปก็คือ ปัญหาแต่ละด้าน ก็จะมีการแก้ไขเฉพาะแต่ละลักษณะเฉพาะด้าน สาธารณสุขเป็นอย่างไร โครงสร้างพื้นฐานเป็นอย่างไร สังคมเป็นอย่างไร
กลุ่มเด็กแว้น เด็กสก๊อย ซึ่งมีจำนวนมาก ขอนแก่นมีแก๊งมังกรดำ แก๊งโลงแตก แก๊งที่ใหญ่ที่สุดคือ แก๊งมังกรดำ มีสมาชิกนับพันคน ก่อนหน้านี้คนส่วนใหญ่เห็นว่าเด็กเหล่านี้สร้างปัญหาให้กับเมือง แต่โชคดีในความเป็นองค์กรของเทศบาลนครขอนแก่น ซึ่งมีพนักงานเป็นจิตอาสา เหมือนเป็นเอ็นจีโอ โดยเริ่มต้นจากการศึกษานอกระบบ พยายามสืบหาเด็ก เข้าถึงเด็กด้วย "นวัตกรรมเนื้อย่าง" โดยเน้นเด็กกินเนื้อย่างเกือบทุกวัน จนกระทั่งเด็กไว้วางใจ แล้วสุดท้ายเจ้าหน้าที่ของเทศบาลอยากขอพบกับรุ่นพี่
จุดที่ทำให้พี่เปี๊ยกหันมาร่วมทำงานด้วยก็คือ ความไว้เนื้อเชื่อใจกัน ซึ่งทีมงานใช้เวลาพิสูจน์ยาวนาน ปัจจุบันเด็กบางคนสามารถเข้าระบบการศึกษา เช่น เรียนกศน. เด็กบางคนมีอาชีพ เด็กบางคนเทศบาลนครขอนแก่นรับเป็นผู้ช่วยเทศกิจ เทศบาลนครขอนแก่นดึงมาร่วมโครงการได้สองร้อยคน การแก้ไขปัญหาระยะยาวเมือง สังคม ฯลฯ ต้องแก้ไขปัญหาที่คนก่อน ซึ่งจำเป็นต้องวางรากฐานด้านการศึกษา ให้ความสำคัญด้านการศึกษาเป็นลำดับแรก
วิสัยทัศน์ของผู้นำเมืองใหญ่ มี 2 เรื่อง
1. ผู้นำที่มีหน้าที่สร้างผู้นำ ซึ่งจะช่วยให้มีคนทำงานมากมาย ไม่มี super hero ต้องมีแต่ super team
2. การทำงานเป็นทีม เทศบาลนครขอนแก่นมีระบบห้องเครื่องคือ ทีมรองนายกฯ เลขา ที่ปรึกษา ประธานสภา ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ พบปะแลกเปลี่ยนพูดคุย ตกผลึกด้านความคิด แล้วปรับให้เป็นระบบ ปรับให้เป็นแผน ปรับให้เป็นการดำเนินการ
คำถาม : ผู้เข้าร่วม
"การเมืองกับการเป็นเมืองใหญ่ประสานการทำงานงานร่วมกันอย่างไร ?"
คำตอบ : นายกเทศมนตรีเทศบาลนครนนทบุรี
"ต้องยอมรับว่าท้องถิ่น ใครมาเป็นอะไร เราก็ทำหน้าที่ของเรา ท้องถิ่นต้องประสานกับทุกคนที่เป็นรัฐบาล เพื่อจะสามารถแก้ไขปัญหาประชาชนได้ ดังนั้นเทศบาลจึงไม่มีสี เพราะปัญหาของบ้านเมืองคือประชาชน"
คำถาม : ผู้เข้าร่วม
"ภายใต้สถานการณ์เมืองใหญ่ที่กำลังเติบโต และอนาคตจะเป็นศูนย์กลางประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในไม่ช้า พร้อมกันนั้นคนดั้งเดิมก็มีสำนึกรักท้องถิ่น คำถามก็คือทั้งนนทบุรีและขอนแก่นก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตน เมืองใหญ่เหล่านี้จะอนุรักษ์ภาพลักษณ์นี้ไว้อย่างไร ?"
คำตอบ : นายกเทศมนตรีเทศบาลนครขอนแก่น
"คุณลักษณะพึงประสงค์ที่ปลูกฝังเด็กรุ่นใหม่คือ กลับไปที่ห้าบวกหนึ่ง (5+1) บวกหนึ่งคือเรื่องสำนึกรักท้องถิ่น เพื่อนของผมหลายคนเรียนจบ แล้วไปเรียนต่อต่างประเทศสุดท้ายไม่กลับมา หน้าที่ของเมืองคือสร้างคนเหล่านี้ ที่มีความรู้ความสามารถ แต่ไม่มีความผูกพันกับเมือง ไม่มีสำนึกรักท้องถิ่น แต่ถ้าคนเหล่านี้มีความผูกพัน มีสำนึกรักท้องถิ่น แล้วหากวันใดวันหนึ่งเขาออกไปจากพื้นที่ เพื่อไปแสวงหาในสิ่งที่เขาต้องการ เขาจะกลับมาพัฒนาบ้านเมือง"
• AUTHOR |
|
![]() |
ผู้ช่วยวิจัย ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง |