Events

Urban Think Tank ครั้งที่ 1 เรื่อง นคราภิวัฒน์กับการปฏิรูปประเทศ

ณัฐธิดา เย็นบำรุง

 

 

นคราภิวัตน์กับการปฏิรูปประเทศ

 

 

ศาสตราจารย์ พิเศษ ดร. เอนก เหล่าธรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้าน การเมือง ได้สรุปและนำเสนอว่าแผนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง 5 ประการ ดังนี้

แผนที่ 1 เรื่อง วัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชน คือ การทำให้ประชาชนมีความเป็นพลเมืองมากขึ้น การมีส่วนร่วม การรู้สึกเป็นเจ้าข้าวเจ้าของบ้านเมือง สิ่งที่ “ใหม่” สำหรับแผนปฏิรูป การเมืองก็คือ จะให้คนไทยเป็นทั้งพลเมืองของระบอบประชาธิปไตยที่ดี และก็เป็นพสกนิกรที่ดีของในหลวงและสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วย ประการสำคัญอันหนึ่งก็คือ ต้องการให้ประชาชนพูดน้อยลงว่า “จะให้รัฐช่วยเหลือตนเองอย่างไร เดือดร้อนอะไร ต้องการให้รัฐช่วยอะไร” แต่ให้พูดมากขึ้น ถามตนเอง มากขึ้นว่า “จะทำอะไรให้แก่บ้านเมือง ประเทศ ท้องถิ่น ชุมชน เมืองให้มากขึ้น” จึงจะเกิดเป็นวัฒนธรรม พลเมือง

แผนที่ 2 เรื่อง การมุ่งที่จะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน ประชาคม ประชาสังคม มีบทบาทในการสร้างประชาธิปไตยแบบที่เป็นการปกครองตนเอง ช่วยตนเอง เรียกว่า “Self- Government Democracy” ก็คือ ประชาธิปไตยที่มีการปกครองตนเอง เปิดโอกาสให้ รับรองสถานะให้ และจะทาอย่างไรให้ชุมชน ประชาคม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีบทบาทในการพัฒนาประเทศ พัฒนาท้องที่ ท้องถิ่น ชุมชนของตนเองให้มากที่สุด เพื่อก้าวเข้าสู่ยุคที่ท้องถิ่นชุมชนสร้างประเทศ

แผนที่ 3 เรื่อง สร้างรัฐให้เป็นรัฐธรรมาธิปไตย กล่าวคือ นอกจากเป็นประชาธิปไตยสาหรับ คนไทยแล้ว ยังต้องเป็นการปกครองที่ดีด้วย ต้องสร้างระบอบประชาธิปไตยของเราให้มีธรรมาธิปไตย จำเป็นจะต้องมี “ธรรมะ” กำกับ คาว่าธรรมะนี้ก็ยังหมายถึง ความดีงาม ความถูกต้อง ความเหมาะสม ความมีหลักการ ความมีประโยชน์ของมหาชนเป็นที่ตั้ง และไม่ใช่เพียงแค่ธรรมมะของศาสนาพุทธ สามารถนาธรรมะที่ดีของทุกศาสนามาปฏิบัติได้

แผนที่ 4 เรื่อง กลไกแก้ปัญหาความขัดแย้ง การทำอย่างไรไม่ให้มีความขัดแย้งจนแตกหัก ขัดแย้งได้ แต่ให้ความขัดแย้งเป็นประโยชน์กับสังคม ประเทศชาติ ต้องเข้าร่วมประโยชน์ส่วนรวมด้วย สันติวิธีเท่านั้น

แผนที่ 5 เรื่อง ให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยซื่อสัตย์สุจริต ชอบธรรม ให้นักการเมืองมีความ เป็นวิชาชีพที่มีจิตอาสาที่จะมาช่วยนาพาบ้านเมือง และให้พรรคการเมืองเป็นสถาบัน พัฒนาจนเป็น สถาบันที่สาคัญแห่งหนึ่งของประเทศชาติ

ทั้งหมดนี้คือแผนการปฏิรูป 5 แผน หรือจะเรียกว่าเป็นหลักคิด 5 ประการของการปฏิรูป การเมือง การปฏิรูปการเมืองจะสำเร็จได้ แค่รัฐบาลทำนั้นไม่พอ ที่ราชการทา ที่บรรดานักการเมือง พรรคการเมืองทา จะสำเร็จได้ ต้องอาศัยภาคประชาชน และผู้นำท้องถิ่น ผู้นำประชาสังคม และนำเมือง นคร เมืองขนาดเล็ก เมืองขนาดกลางที่เรารับผิดชอบอยู่ มาเป็นพลังที่สำคัญของการปฏิรูป “ผู้นำในพื้นที่” ชาตินิยมเป็นเรื่องดี และจะต้องมีต่อไป แต่บ้านเมืองจะมีชาตินิยมอย่างเดียวไม่ได้ ไม่เพียงพอ แต่จะต้องมีท้องถิ่นนิยม จังหวัดนิยม เมืองนิยม มหานครนิยมด้วย จะต้องเกิดความรัก ความเป็นเจ้าของ ความผูกพันต่อเมือง นคร มหานครด้วย เมืองต้องเป็นอีกหน่วยหนึ่งที่เราต้องรักภักดีเสียสละให้ และวางมือไม่ได้ เพราะเมืองเป็นบ้านของเรา

 

ข้อเสนอการขับเคลื่อน ท้องถิ่นในฐานะบทบาทหลักในการปฏิรูปประเทศ

 

 

ข้อเสนอต่อส่วนกลาง

1. รัฐต้องให้ความสาคัญกับการเมืองระดับพื้นที่ให้มากขึ้น เพราะการเมืองระดับพื้นที่มีความสำคัญต่อการปฏิรูปการเมือง ยกระดับเมือง นคร มหานคร เพราะมีวิถีชีวิตของเมือง วัฒนธรรมในพื้นที่เป็นต้นทุนที่ดี แต่รัฐมักละเลยวิถีชีวิต ซึ่งสามารถสร้างรายได้ได้ ที่ผ่านมารัฐ ให้ความสำคัญเฉพาะองค์กร กลไกของรัฐเท่านั้น

2. สร้างการมีส่วนร่วมให้ประชาชนมีโอกาสในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ในท้องถิ่น ให้ ประชาชนเป็นผู้ช่วยรัฐ เพราะประชาชนคือเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาให้รัฐ จากประสบการณ์ในระดับพื้นที่ ท้องถิ่นสามารถพัฒนาบ้านเมืองไปไกลกว่ารัฐพัฒนา เพียงแต่เครื่องมือในการพัฒนาของท้องถิ่นมีจำกัด รัฐต้องลงทุนสร้างความสัมพันธ์ในพื้นที่ให้เกิดในระดับท้องถิ่น เพราะความร่วมมือเป็นทุนที่ดีในการระดมทุนอื่น โดยเฉพาะสามารถระดมทุนที่ เป็นตัวเงินได้ หากมีทุนทางสังคมในพื้นที่ การระดมทุนไม่ใช่เรื่องยาก สุดท้ายแล้วจะช่วยลด งบประมาณได้ที่รัฐต้องจ่ายลงไปในพื้นที่ได้ แต่ที่ผ่านมารัฐไม่เคยเชื่อว่าประชาชนทำงานให้รัฐได้

3. ท้องถิ่นต้องมีตัวชี้วัด (KPI) ที่ชัดเจน มีคนประเมินอย่างจริงจัง ต้องแข่งกันทางานระหว่าง เมือง ต้องมีการเปรียบเทียบหากทำไม่ได้ให้ลาออก เช่น เรื่องเศรษฐกิจ 3 ปี GPP จังหวัดต้อง เพิ่มเท่าไหร่ โดยเชื่อมกับบริบทพื้นที่ อาชญากรรมต้องลดเท่าไหร่ เป็นต้น

4. เปิดโอกาสให้ท้องถิ่นเป็นตัวกลางแก้ปัญหาความขัดแย้ง ในพื้นที่ที่เกิดปัญหาเรื่องความ ขัดแย้ง เช่น เมืองยะลา ท้องถิ่นสามารถตัวเชื่อมประสานให้ความขัดแย้งทุเลาได้ ท้องถิ่นต้องเปิดพื้นที่ของการแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่มให้มากขึ้น ท้องถิ่นต้องผู้นำในการสร้างวัฒนธรรม ประชาธิปไตย

5. กระบวนการคัดผู้นำท้องถิ่น ควรมีระบบการคัดที่เปิดกว้างกว่านี้ สามารถให้เอกชน หรือผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสอบเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดได้ ซึ่งเป็นการบริหารแนวใหม่ เพราะ สามารถอยู่ได้นานกว่าคนของรัฐเอง

6. หลายภารกิจควรโอนให้ชุมชนและท้องถิ่นดำเนินการ เช่น เรื่องเศรษฐกิจ ท้องถิ่นเป็นหน่วยงานที่อยู่ประชาชน ที่ผ่านมาภูมิภาคทำงานเปรียบเป็นแค่ไปรษณีย์ส่วนกลางเท่านั้น ต้อง เพิ่มอานาจให้ท้องถิ่น โดยมีหน่วยงานภูมิภาคเป็นที่ปรึกษา แต่ปัจจุบันส่วนกลางกระจายอานาจแบบไม่เต็มที่ ยังหวงอานาจ ท้องถิ่นไม่สามารถทำงานตอบสนองประชาชนได้เท่าที่ควร เพราะถูกตรวจสอบอย่างมาก และที่สาคัญควรกระจายอำนาจอย่างแท้จริง กระจายงบประมาณ ทรัพยากรบุคคลด้วย เพราะปัจจุบันโอนมาเพียงแค่ภารกิจ แต่ไม่โอนงบประมาณ

7. ควรมีการพัฒนาศักยภาพท้องที่ (ส่วนภูมิภาค) มากกว่านี้ เพราะท้องที่หรือส่วนภูมิภาค ได้รับการพัฒนาศักยภาพน้อยมาก หากท้องถิ่น ท้องที่ ประชาชน องค์กรชุมชนได้รับการพัฒนาและทำงานร่วมกันแล้ว ในระดับพื้นที่จะเข้มแข็งมาก

8. ควรมีการปฏิรูปกฎหมายท้องถิ่นครั้งใหญ่ ระเบียบที่ควรมี ระเบียบที่ควรยกเลิก เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคแก่การทำงานของพื้นถิ่น เพราะระเบียบมีมากเกินไป และไม่สามารถทำให้ท้องถิ่นทำงานได้ แม้อยากทำก็ตาม

9. ควรเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นตั้งบริษัทของตนเองได้ เพื่อให้เกิดการแข่งขันในท้องถิ่น เช่น งานก่อสร้างขนาดเล็ก หากให้ท้องถิ่นทางานร่วมกับประชาชนในพื้นที่เอง ลงทุนเอง ประสิทธิภาพจะเกิดอย่างแน่นอน เพราะท้องถิ่นและประชาชนเป็นเจ้าของบ้าน เจ้าของพื้นที่

10. ควรมีการปฏิรูปเรื่องการกระบวนการที่ไม่ต่อเนื่องของส่วนกลาง เปลี่ยนแปลงบ่อยให้ได้ เช่น การโยกย้ายของผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ หรือระดับผู้บริหารกรมต่างๆ เพื่อการ ทำงานอย่างต่อเนื่องในพื้นที่

11. ภาครัฐบาลต้องเปลี่ยนวิธีการทำงานกับประชาชน สนับสนุนให้ประชาชนต้องพึ่งตัวเองให้ ได้ อย่าเน้นให้แต่เงิน แจกเบี้ยประชุม มิเช่นนั้นท้องถิ่นจะพัฒนาไม่ได้ นอกจากนี้ควรมีการ พัฒนาประชาธิปไตยของและพื้นที่ด้วย ให้คนสามารถมีส่วนร่วมกับเมืองได้โดยไม่ต้องใช้เงิน สร้างคนให้มีส่วนร่วมด้วยศรัทธาและใจให้มากขึ้น

12. เมื่อท้องถิ่นทำงานได้ รัฐส่วนกลางไม่ควรขัดขวาง ควรเปิดทางและอนุมัติในหลายๆ เรื่อง และที่สาคัญพื้นที่ควรมีมหาวิทยาลัยของตัวเอง และนักวิชาการต้องทำงานสนับสนุนด้านวิจัยให้แก่ท้องถิ่น จะเกิดโมเดล 3 ฝ่าย รัฐท้องถิ่น เอกชน และมหาวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นโมเดล ที่เข้มแข็ง ตัวอย่างพื้นที่การทำงานท้องถิ่นที่ดีในรอบ 10 ปีมานี้ เช่น ขอนแก่น มีนักธุรกิจ ประชาสังคม หอการค้า ท้องถิ่น ร่วมกันสร้างบริษัทพัฒนาเมือง วางยุทธศาสตร์เมือง 20 ปี มีทั้ง ยุทธศาสตร์หลัก ยุทธศาสตร์ แผนกิจกรรมที่ชัดเจน ซึ่งทุกหน่วยงานในพื้นที่ตอบรับแผนนี้ ไม่ว่าจะมีหน่วยงานใดเข้ามาก็สามารถนาแผนนี้ไปปฏิบัติได้เลย และกำลังมีพื้นที่อีกกว่า 10 พื้นที่ กาลังทำตามขอนแก่น

13. ส่วนกลางต้องลดอคติแก่ท้องถิ่น แม้ว่าจะมีการโอนภารกิจให้ท้องถิ่นมากขึ้น แต่ยังมีอคติ ของความไม่เชื่อท้องถิ่นเหลืออยู่ รัฐบาลยังคงมีวิธีคิดรวบอานาจเข้าสู่ศูนย์กลาง เพราะมองว่าแต่ละกรมทางานไม่ประสานกัน ที่สำคัญแผนการปฏิรูปไม่มีเรื่องท้องถิ่นเลย มีแต่ควรเรื่องของส่วนกลางทั้งสิ้น

 

ข้อเสนอต่อท้องถิ่น

1. ควรมีการทำคลัสเตอร์ของท้องถิ่นในพื้นที่ที่ใกล้กัน เพื่อแก้ปัญหาร่วมกันของพื้นที่ ซึ่งมีโมเดลการเรียนรู้การทำคลัสเตอร์ท้องถิ่นที่สามจังหวัด คือ การดึงท้องถิ่นพื้นที่ใกล้เคียงกันมา ประชุมและทางานร่วมกัน โดย แบ่งท้องถิ่นเป็น 3 กลุ่ม โดยมีท้องถิ่นที่เข้มแข็งเป็นพี่เลี้ยงให้ แต่ละกลุ่ม ซึ่งที่สามจังหวัด มีเทศบาลนครยะลา องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา และเทศบาล เมืองเบตง เป็นพี่เลี้ยงแต่ละกลุ่ม จากนั้นทำงานเชื่อมกัน จนสามารถทางานถึงระดับล่างได้

 

ข้อเสนอต่อทุกภาคส่วน

1. ควรพัฒนาส่วนกลางและส่วนพื้นที่พร้อมกัน ส่วนบนคือรัฐส่วนกลางที่ทำงาน top down และพัฒนาส่วนล่างคือท้องถิ่นและภาคประชาชน ที่ทำงานแบบ bottom up ขึ้นมา เพื่อหาสมดุล ตรงกลาง ทั้งนี้ในระดับพื้นที่ยังมีปัญหาอยู่ ท้องถิ่นไม่สามารถทางานได้เต็มที่ ทั้งเรื่อง งบประมาณ และระเบียบอำนาจหน้าที่ไม่เอื้ออำนวย ภาคประชาชนยังไม่พร้อม เพราะโครงสร้างไม่เอื้อไม่อำนวยให้เข้าร่วม ภาคประชาชนเองยังไม่มีความรู้เพียงพอในเรื่องประชาธิปไตย ในขณะที่ภาคประชาสังคมทางานและช่วยเหลือดีมาก แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ เต็มที่และต่างคนต่างทำ ควรปรับทั้งส่วนบนส่วนล่างพร้อมกัน

2. ไม่ว่าจะรัฐท้องถิ่น หรือรัฐกลาง สิ่งสำคัญคือทุกหน่วยงานต้องทบทวนตนเอง อย่าโทษ คนอื่น เพราะจะทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ทุกหน่วยงานต้องแก้ปัญหาและพึ่งตนเองให้มาก ต้องปฏิวัติความคิด ปฏิวัติคน และต้องมีการบริหารจัดการที่ดีมากด้วย เพราะทุกเรื่องสามารถ แก้ปัญหาได้ด้วยตนเองทั้งสิ้น และหากไม่สามารถแก้ได้ ก็สามารถเชื่อมหน่วยงานอื่นที่มีความถนัดช่วยพัฒนาได้

 

ข้อเสนอต่อคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง

1. คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการเมืองควรมีแผนทดลองทำโมเดลตัวอย่างพื้นที่ เข้มแข็ง เพื่อเป็นพลังและต้นแบบให้พื้นที่อื่นๆ ควรทำตัวอย่างพื้นที่ประมาณ 100 พื้นที่ขึ้นไป เนื่องจากจะได้เป็นพลังและเห็นการเปลี่ยนแปลง หากทาตัวอย่างน้อยเกินไปจะไม่เห็นพลัง

 

Report

  

 

   

 

   

 

 

• AUTHOR

 


ณัฐธิดา เย็นบำรุง

ผู้ช่วยวิจัย ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ ม.รังสิต

 

Related Posts