ด้วยคำกล่าวของเมโลดี้ที่นับวันดูเหมือนจะเป็นความจริงมากขึ้นเรื่อยๆ กอปรกับการค้นพบแนวคิด Placemaking อันเป็นหนทางที่ช่วยพัฒนาเมืองไปสู่สุขภาวะได้ ทำให้แนวทางการทำ Placemaking กลายเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องให้ความสนใจและศึกษาเรียนรู้จากตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริง เพื่อนำมาสร้างสรรค์โครงการดีๆ และลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในเมืองตามแนวทางที่เหมาะสมกับพื้นที่ของตน ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 5 แนวทาง ดังนี้
1. เน้นการปฏิสัมพันธ์และการสนับสนุนทางสังคม หากเมืองมีการสนับสนุนทางสังคมที่ดี จะช่วยสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าข้าวเจ้าของเมืองและสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตใจ
2. เน้นการละเล่นและนันทนาการแบบกระฉับกระเฉง กิจกรรมทางกายภาพจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเรื้อรัง ทำให้คนเมืองมีสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ และมีอายุยืนยาวขึ้น
3. เน้นพื้นที่สีเขียวและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมาก เพราะช่วยให้คนอยากออกกำลังกายกันมากขึ้น ลดอัตราการเป็นโรคหัวใจและเมแทบอลิก (Cardiometabolic Disease) สร้างทุนทางสังคม ลดการเกิดอาชญากรรม บรรเทาอาการซึมเศร้า ความเครียดและความวิตกกังวล ตลอดจนช่วยเพิ่มสมาธิและความจำด้วย
4. เน้นอาหารสุขภาพ การที่คนเมืองสามารถเข้าถึงและจับจ่ายใช้สอยซื้อของสดของดีมีประโยชน์ต่อร่างกายได้ เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ชุมชนมีสุขภาวะที่ดีและลดอัตราการเกิดโรคเรื้อรัง อีกทั้งยังช่วยสร้างโอกาสให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สร้างสังคมผู้ประกอบการในท้องถิ่น สร้างความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สร้างความผูกพันในชุมชน และสร้างการเรียนรู้ด้านโภชนาการ (Nutrition-Based Education)
5. เน้นการเดินและการปั่นจักรยาน การมุ่งทำให้คนเมืองเดินทางเท้าได้ง่ายและสะดวก ส่งผลให้ท้องถนนมีความปลอดภัยมากขึ้น โรคเรื้อรังเกิดขึ้นน้อยลง มลพิษทางอากาศน้อยลง ธุรกิจริมทางเท้าเติบโตขึ้น ความสามารถในการรู้คิด (Cognitive Function) พัฒนาขึ้น รวมทั้งคนเมืองก็ได้ขยับตัวเคลื่อนไหวกันมากขึ้นด้วย
นวัตกรรม Placemaking ดูเหมือนจะเป็นเครื่องมือที่ทำได้ง่าย มีตุ้นทุนต่ำ เห็นผลได้ทันที หากแต่จะประสบความสำเร็จและมีความยั่งยืนได้ ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของคนในเมืองที่ไม่ได้เกิดจากการถูกบังคับ แต่ต้องเกิดจากใจที่รู้สึกเป็นเจ้าของเมือง อยากจะเข้าร่วม อยากจะลงมือทำ อยากจะพัฒนาเมืองในแนวทางของตัวเอง Placemaking จึงจะเกิดขึ้น และกลายเป็นความภาคภูมิใจที่สะท้อนตัวตนของเมืองขึ้นมาได้ นอกจากนี้ เมื่อ Placemaking สามารถดึงผู้คนให้มารวมตัวกัน จนเกิดเป็นพื้นที่สาธารณะหรือกิจกรรมที่สนับสนุนการเคลื่อนไหวขึ้นมาได้แล้ว สุขภาวะของเมืองก็จะเป็นผลที่ตามมา
Amanda Li (2017). "Placemaking Our Way to Healthier Communities and Better Lives. " DASH-NY. http://promotingprevention.org/placemaking-our-way-to-healthier-communities-and-better-lives
Project for Public Spaces, 2016. “The Case for Healthy Places : Improving Health through Placemaking." https://www.pps.org/wp-content/uploads/2016/12/Healthy-Places-PPS.pdf
University of Wisconsin Population Health Institute, 2003. "County Health Rankings & Roadmaps."University of Wisconsin Population Health Institute. Accessed January 2016. Retrieved from http://www.countyhealthrankings.org/our-approach
• AUTHOR
|
 |
อรุณ สถิตพงศ์สถาพร
เศรษฐศาสตร์บัณฑิต และเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
|