Cities Reviews

มหานครจีน = ความมั่งคั่งของโลก

 

ฐิติรัตน์  รู้เสงี่ยม

 

ในช่วงต้นทศวรรษที่ผ่านมา นักเศรษฐศาสตร์ผู้ชนะรางวัลโนเบลนามว่า Joseph Stiglitz ได้ประกาศว่าสองปัจจัยสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดความมั่งคั่งของโลกในศตวรรษที่ 21 คือ นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกาและกระบวนการทำให้เป็นเมืองในประเทศจีน นี้เองทำให้การทำความเข้าใจเมืองในประเทศจีนนั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง แต่ด้วยข้อมูลที่ถูกจำกัดและพลวัตของการเมืองที่ซับซ้อนนั้น Global Metro Monitor จึงได้เสนอมุมมองหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับกระแสเศรษฐกิจปัจจุบันในเมืองขนาดใหญ่ของจีน โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเด็นย่อย ดังนี้

 

1 ใน 3 ของ 300 เขตเศรษฐกิจในเขตมหานครขนาดใหญ่ของโลกอยู่ที่จีน

โดย Global Metro Monitor ของ Brooking Metro ได้ทำการใช้ข้อมูลด้าน GDP และอัตราการจ้างงานจาก Oxford Economics เพื่อติดตามประสิทธิภาพด้านเศรษฐกิจในเขตเศรษฐกิจบริเวณเขตมหานครขนาดใหญ่ 300 แห่งทั่วโลก ซึ่งได้จากการวัดตัวเลข GDP และเมื่อทำการเผยแพร่รายงานฉบับล่าสุดในปี 2014 พบว่าจีนนั้นมีพื้นที่ที่เป็นเมืองขนาดใหญ่น้อยกว่า 50 แห่ง จาก 300 อันดับแรก ในบทความฉบับนี้ใช้ข้อมูลของปี 2016 พบว่ามีการเพิ่มขึ้นของเมืองถึง 103 แห่ง ซึ่งมากกว่าเมืองในอเมริกาเหนือและยุโรปตะวันตกเมื่อคิดรวมกัน

การผสมผสานกันระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและการคำนวณตัวเลข GDP ของจีนใหม่นั้น ตั้งอยู่บนปริมาณของการวัดกำลังซื้อของผู้บริโภคในจีนที่เป็นปัจจัยในการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจในเขตมหานคร แม้ว่าการเติบโตด้านเศรษฐกิจในจีนนั้นจะชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับมาตรฐานล่าสุด แต่พื้นที่เขตมหานครนั้นก็ได้รับการพัฒนาที่ดีกว่าอื่นทั่วโลกอย่างมีนัยสำคัญ ด้วยตัวเลข GDP ต่อหัวที่เติบโตถึง 7 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ในระหว่างปี 2014 และ 2016 (แผนภาพที่ 1)

 

 

5 เมืองที่แตกต่างกันในจีนที่ซึ่งขับเคลื่อนการเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจของชาติ

แม้ว่าเมืองต่าง ๆ ในจีนนั้นจะตั้งอยู่ในแนวพรมแดนของการเติบโตของโลก แต่หลาย ๆ เมืองก็ยังไม่ได้เป็นที่รู้จักของโลกมากนัก และประเทศที่มีขนาดใหญ่อย่างจีนนั้นยังไม่มีการแบ่งประเภทของเมือง เนื่องจากพื้นที่ในเขตเมืองจีนนั้นมีความซับซ้อนและมีความหลากหลายเฉกเช่นเดียวกันกับประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายจึงได้มีการจำแนกเมืองในจีนทั้งหมด 103 แห่งออกเป็น 5 ประเภทด้วยกัน โดยแบ่งตามขนาด โครงสร้างอุตสาหกรรม และรูปแบบการเติบโต (แผนภาพที่ 2)

        1. Giant Cities หรือ สองเมืองขนาดใหญ่ในจีน อันได้แก่ ปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ ซึ่งมีความโดดเด่นทางด้านเศรษฐกิจ ประกอบไปด้วยแรงงานจำนวน 26 ล้านคนและสร้างรายได้จริงมากกว่า 1.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

        2. Anchor Cities หรือเขตเมืองหลักทางเศรษฐกิจ ประกอบไปด้วยพื้นที่เมืองขนาดใหญ่จำนวน 14 แห่งที่สร้างรายได้จริงอย่างน้อย 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 4 ของตัวเลข GDP ของประเทศในปี 2016 โดยแบ่งเป็นพื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองระดับจังหวัด 9 แห่งหรือเมืองหลวงของจังหวัด (เทียนจิน ฉงชิ่ง เจิ้งโจว หนานจิง หางโจว กวางโจว หวู่ฮั่น ฉางชา และเฉิงตู) และอีก 5 เมืองชายฝั่งที่เป็นที่ตั้งของท่าเรือคอนเทนเนอร์ที่คึกคักที่สุดในโลก (ชิงเต่า ซูโจว อู่ซี หนิงโป และเซินเจิ้น)

        3. Rust Belt หรือเขตเมืองอุตสาหกรรมเก่า ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศจีนนั้นจำนวน 6 แห่ง (ฮาร์บิ้น ต้าชิง ฉางชุน มณฑลจี๋หลิน เฉิ่นหยาง และต้าเหลียน) ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งพยายามที่จะต่อต้านการลดลงของอุตสาหกรรมถ่านหินและเหล็กของประเทศ

ในส่วนของเมืองมหานครที่เหลือของประเทศจีนจำนวน 81 แห่งนั้น ซึ่งส่วนใหญ่มีเนื้อที่ขนาดกลาง (กล่าวคือ มีการจ้างงานเฉลี่ย 1.6 ล้านคนและมี GDP เฉลี่ยอยู่ที่ 106.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งขึ้นอยู่กับโครงสร้างอุตสาหกรรม โดยแบ่งแยกย่อยออกเป็น 2 ประเภท คือ

        4. ในเขตมหานครจำนวน 24 แห่ง ที่ซึ่งงานด้านการบริการมีส่วนแบ่งทางเศรษฐกิจสูงกว่างานด้านอุตสาหกรรม จะถูกจัดให้อยู่ในประเภท Service Cities หรือเมืองบริการ

        5. ในเขตมหานครจำนวน 57 แห่ง ที่ซึ่งงานด้านอุตสาหกรรมมีส่วนแบ่งทางเศรษฐกิจสูงกว่างานด้านการบริการ จะถูกจัดให้อยู่ในประเภท Industry Cities หรือเมืองอุตสาหกรรม

 

 

5 เมืองในจีนที่มีความแตกต่างในด้านประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

พื้นที่เขตมหานครทั้ง 5 ประเภทนั้นจะแสดงศักยภาพด้านเศรษฐกิจได้อย่างไร? ในการวัดศักยภาพด้านเศรษฐกิจนั้น จะใช้ตัวชี้วัด 2 ตัว คือ อัตราการจ้างงานทั้งหมดและ GDP ต่อหัว รวมถึงการพิจารณาทั้งอัตราการเจริญเติบโตและความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงของตัวชี้วัดในระหว่างปี 2014 และ 2016 ตามข้อมูลที่ปรากฏล่าสุด ก่อนจัดอันดับเขตมหานครทั้ง 103 แห่ง ลงในตารางแสดงดัชนีรวม

ซึ่งสองเมืองขนาดใหญ่ (The two Giants) และ 14 เขตเมืองหลักทางเศรษฐกิจนั้นมีประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับเขตมหานครในจีนทั้งหมด โดยมีอันดับเฉลี่ยอยู่ที่ 26 และ 18 ตามลำดับ (แผนภาพที่ 3) ในขณะที่เขตมหานครเมืองอุตสาหกรรมเก่าอยู่ในอันดับท้าย ซึ่งมีอันดับเฉลี่ยอยู่ที่ 94 ในส่วนของประสิทธิภาพของเขตมหานครขนาดกลางนั้นมีความผสมผสานกันอยู่ แม้ว่าเขตเมืองบริการ (อันดับเฉลี่ยที่ 48) จะมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าเขตเมืองอุตสาหกรรม (อันดับเฉลี่ยที่ 58) เพียงเล็กน้อย

 

 

พลวัตของการเติบโตในระยะสั้นนั้นจะแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาล่าสุดซึ่งจะกลายเป็นความแตกต่างอย่างมากในระยะยาวในเรื่องของการเติบโตด้านเศรษฐกิจของเขตมหานคร 5 ประเภทของจีน ตั้งแต่ปี 2000 เขตมหานครทั้ง 5 ประเภทนั้นได้แสดงรูปแบบของการจ้างงานและการเติบโตของ GDP ต่อหัวที่โดดเด่น ในขณะที่ปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ยังคงเป็นเขตมหานครที่สำคัญที่สุด แม้ว่าจะไม่ได้เป็นฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของชาติ (แผนภาพที่ 4) เนื่องจากการเคลื่อนย้ายแรงงานจากปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ไปสู่เขตเมืองที่มีขนาดเล็กกว่าเป็นเวลากว่าทศวรรษแล้ว โดยแนวโน้มนี้ถูกคาดการณ์ว่าจะยังคงอยู่ต่อไปซึ่งจะมีผลต่อช่องว่างระหว่างประชากรทั้งในปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ เนื่องจากไม่มีไหลเข้ามาของประชากรวัยแรงงาน ช่องว่างค่าครองชีพพื้นฐานโดยเฉลี่ย (วัดจาก GDP ต่อหัว) ระหว่างปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ (The two Giants) และเขตมหานครอื่น ๆ ของจีน จะหดตัวลง นับตังแต่ปี 2000 GDP ต่อหัวในเขตมหานครทั้ง 101 แห่งของจีนนอกกรุงปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ได้มีการเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าอย่างรวดเร็วเทียบเท่ากับปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้

เขตเมืองหลักทางเศรษฐกิจ (Anchor Cities) ยังคงเขตที่ผลักดันการเติบโตที่สำคัญ ซึ่งเป็นเขตศูนย์กลางทางด้านการคมนาคมขนส่งที่เชื่อมโยงกับรถไฟความเร็วสูงภายในประเทศและท่าอากาศยานนานาชาติ รวมถึงท่าเรือ อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของบริษัทสตาร์ทอัพจำนวนมาก เช่น อะลีบาบา (หางโจว) เทนเซ็นต์ (เซินเจิ้น) และหัวเว่ย (เซินเจิ้น) ในฐานะที่เป็นเขตเมืองหลักทางเศรษฐกิจของจีนซึ่งได้มีการเปลี่ยนผ่านเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าที่สูงขึ้น การขาดแคลนแรงงานทักษะจะทำให้ต้องมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงสำหรับแรงงานที่มีความสามารถพิเศษ ซึ่งรวมถึงในปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ด้วย

 

 

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกเขตมหานครในจีนที่จะประสบความสำเร็จ บริษัทในเขตเมืองอุตสาหกรรมเก่าของจีนได้ประสบกับภาวะการลดลงของการจ้างงานมาเป็นเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมาและการชะลอตัวของ GDP ต่อหัวล่าสุดที่ลดลง ในสามจังหวัดทางตะวันตกเฉียงเหนือในเขตเมืองอุตสาหกรรมเก่าที่อดีตเคยเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมผู้ผลิตรถยนต์และเครื่องบินรายใหญ่ที่สุดของประเทศในช่วงยุคการวางแผน เริ่มขาดทุนเนื่องจากรัฐวิสาหกิจไม่สามารถทำกำไรได้ในตลาดที่มีการแข่งขันกันที่สูงมากขึ้น ซึ่งเขตภูมิภาคนี้ได้มีความท้าทายในเรื่องของการลดลงของอุตสาหกรรมและประชากรที่ในสหรัฐอเมริกาก็ได้เผชิญอยู่เช่นกัน

ในส่วนของแนวโน้มการเจริญเติบโตของเมืองบริการและเมืองอุตสาหกรรมที่ได้มีการติดตามกันมาตั้งแต่ปี 2000 ซึ่งทั้งสองเขตเมืองนั้นได้มีการเพิ่มขึ้นของแรงงานเป็นสองเท่าและเป็น 1 ใน 5 ของ GDP ต่อหัวในช่วงระยะเวลา 16 ปี ในความคล้ายกันนี้ก็ไม่น่าประหลาดใจที่หลาย ๆ เมืองที่เคยเป็นศูนย์กลางเมืองอุตสาหกรรมในอดีตกลับกลายเป็นเขตเมืองบริการ ในขณะที่จีนได้กระตุ้นผู้ผลิตที่มีฐานการผลิตอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลให้ย้ายกลับเข้ามาตั้งภายในประเทศแทนการย้ายไปตั้งนอกเขตสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งจะทำให้เมืองที่กำลังพัฒนาในบริเวณภาคกลางของจีนสามารถดำเนินแผนงานตามโครงการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรม

การเติบโตอย่างรวดเร็วในเขตเมืองมหานครชายฝั่งทะเลขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมที่เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของค่าแรงและราคาที่ดิน เมืองเช่น ฟูโจว เซียะเหมิน และเวิ่นโจว ซึ่งเป็นสามเมืองในเขตเมืองบริการที่ถูกจัดอันดับให้อยู่ใน 10 อันดับแรกบน Economic Performance Index และได้รับประโยชน์จากความเจริญทางธุรกิจในด้านบริการทางการเงินและอีคอมเมิร์ซโดยมีการพึ่งพาการผลิตน้อยกว่าทศวรรษที่ผ่านมา ในทางกลับกัน จ้านเจียงเป็นเมืองที่อยู่ในเขตเมืองบริการที่ติดใน 10 อันดับท้ายที่ไม่สามารถหาช่องทางสำหรับอุตสาหกรรมเติบโตใหม่เพื่อยับยั้งการลดลงของฐานอุตสาหกรรมได้

หากมองให้ลึกลงไปที่เขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเพิร์ล ที่ซึ่งอยู่ในบริเวณที่ตั้งของเมืองทั้ง 9 เมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่กว่า 60 ล้านคน เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงพลวัตนี้ (แผนภาพที่ 5) เมื่อครั้งหนึ่งเป็นเสมือน "โรงงานโลก" ที่อยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างมาก ซึ่งในบางพื้นที่ของภูมิภาคนี้กำลังเจริญรุ่งเรือง กวางโจวเป็นเมืองที่มีผู้นำด้านอีคอมเมิร์ซระหว่างประเทศ ส่วนเซินเจิ้นนั้นได้กลายเป็นดั่ง Silicon Valley ของประเทศจีน ในขณะเดียวกัน ในเมืองอื่น ๆ เช่น ตงกวน ฟอซาน เจียงเหมิน จงซาน และจูไห่ กำลังประสบปัญหาการเติบโตช้าหรือลดลงอย่างช้า ๆ เนื่องจากพยายามที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของตนให้พ้นจากการแข่งขันกับต้นทุนที่ต่ำต่อผลิตภัณฑ์ด้านนวัตกรรมใหม่ ๆ การเสียผลประโยชน์ของเมืองเหล่านี้เป็นผลมาจากเมืองใกล้เคียงที่มีต้นทุนที่ถูกกว่า เช่น ฮุยโจวและเส้าชิง ซึ่งยังคงรากฐานมาจากอุตสาหกรรม เฉกเช่นเดียวประเทศจีนเอง เขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเพิร์ลนั้นไม่ได้เป็นเสาหินที่ตั้งตระหง่าน แม้ว่าเศรษฐกิจของประเทศนั้นจะยังคงมีรากฐานมาจากอดีตหรือการเกิดใหม่ของเทคโนโลยีขั้นสูงซึ่งยังคงหลงเหลือให้เห็นอยู่

 

 

การทำให้เป็นเมืองซึ่งไม่เคยมีมาก่อนของจีนนั้น ทำให้เมืองมีการรวมตัวกันเพื่อกำหนดแนวโน้มของประเทศในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี และการเติบโตทางเศรษฐกิจ และเนื่องจากเมืองเหล่านี้มีบทบาทสำคัญบนเวทีเศรษฐกิจโลก ซึ่งการพัฒนาอย่างต่อเนื่องนั้นจะช่วยให้สามารถกำหนดผลลัพธ์ด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมที่สำคัญทั่วโลกได้

 
 

อ้างอิง
 

https://www.brookings.edu/blog/the-avenue/2018/06/19/meet-the-five-urban-chinas/

 

 

 

 

• AUTHOR

 


ฐิติรัตน์  รู้เสงี่ยม

รัฐศาสตร์บัณฑิต ภาคสังคมวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

Related Posts