
ดัชนี Livability: Liveability Ranking
อรุณ สถิตพงศ์สถาพร
The Economist Intelligence Unit ได้จัดอันดับเมืองน่าอยู่จาก 140 เมืองทั่วโลก โดยพิจารณาจากคุณภาพชีวิตของคนที่อาศัยอยู่ในเมืองนั้น ๆ แบ่งตัวชี้วัดออกเป็น 5 มิติ ครอบคลุมเรื่อง ความสามารถในการพึ่งพาตัวเองได้ของเมือง (น้ำหนักในการพิจารณา 25%) ระบบการดูแลและส่งเสริมสุขภาพ (น้ำหนักในการพิจารณา 20%) วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม (น้ำหนักในการพิจารณา 25%) คุณภาพการศึกษา (น้ำหนักในการพิจารณา 10%) และโครงสร้างพื้นฐานของเมือง (น้ำหนักในการพิจารณา 20%)
ผลการจัดลำดับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 – 2013 พบว่า เมืองที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ส่วนใหญ่จะอยู่ในยุโรปตะวันตกและอเมริกาเหนือ ในขณะที่เมืองในภูมิภาคอื่นอย่างประเทศออสเตรเลีย สามารถรักษาอันดับเมืองน่าอยู่ของตนเองไว้ได้อย่างต่อเนื่องและติดอันดับ 1 ใน 10 มากถึง 4 เมือง (ดูรูปที่ 1)
นอกจากการจัดลำดับเมืองน่าอยู่ในแต่ละปีแล้ว The Economist Intelligence Unit ยังได้เผยแพร่ 10 อันดับของเมืองที่มีพัฒนาการดีที่สุด (ดูรูปที่ 3) และ 10 อันดับเมืองที่ล้มเหลวในการพัฒนาเมือง (ดูรูปที่ 4) ตั้งแต่เริ่มการสำรวจในปี ค.ศ. 2008 ถึงปัจจุบัน โดยเปรียบเทียบแนวโน้มการพัฒนาเมืองตามตัวชี้วัดทั้ง 5 มิติ ผลการสำรวจมีดังต่อไปนี้
ทั้งนี้ จากรายงานสรุปของ The Economist Intelligence Unit ไม่ปรากฏว่า เมืองกรุงเทพฯ ได้รับการจัดลำดับใดจาก 140 เมืองทั่วโลก
• AUTHOR |
|
![]() |
เศรษฐศาสตร์บัณฑิต และเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |