Cities Reviews

สุไหงโก-ลก…..ต้นแบบและโอกาสของเมืองชายแดน

 

อุสมาน วาจิ

 

ภาพสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก อยู่บริเวณชายแดนด่านสุไหงโก-ลก

 

ดังที่ทราบกันดีว่าพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้อันประกอบด้วย จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และ จังหวัดปัตตานี นั้นอยู่ในภาวะไม่สงบอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว เนื่องจากผู้คนภายนอกพื้นที่เดินทางเข้ามาน้อยลง จนกระทั้งระยะหลังมานี้เหตุการณ์ไม่สงบต่าง ๆ เริ่มทุเลาเป็นลำดับจึงเป็นโอกาสอันดีที่ภาครัฐและเอกชนจะเร่งดำเนินการเพื่อยกระดับความเจริญก้าวหน้าของพื้นที่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งหลายพื้นที่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นมีทรัพยากรและข้อได้เปรียบมากมายที่รอการส่งเสริมพัฒนา

เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2559 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการโครงการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” (ปี 2560 – 2563) ที่มีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.) และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นหน่วยงานที่จัดทำและนำเสนอกรอบการดำเนินงาน โครงการเมืองต้นแบบฯ จะเป็นการพัฒนาที่คำนึงถึงจุดแข็งที่เป็นอัตลักษณ์เด่นของพื้นที่เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่นและสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนได้มากที่สุด รัฐบาลจะสนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนาพื้นที่พิเศษ ได้แก่ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส และ อ.เบตง จ.ยะลา ให้มีความพร้อมสำหรับการลงทุนจากภาคเอกชน เพื่อเป็นการสร้างอาชีพและความเป็นอยู่ที่ดีแก่ประชาชนในพื้นที่ โดยมีเป้าหมายพัฒนา อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เป็น “เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร” พัฒนา อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส เป็น “ศูนย์กลางการค้าชายแดนระหว่างประเทศ” พัฒนา อ.เบตง จ.ยะลา เป็น “เมืองต้นแบบการพัฒนาที่พึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน” โดยจะแบ่งแนวทางการพัฒนาเป็น 3 ด้านด้วยกันเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2559 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการโครงการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” (ปี 2560 – 2563) ที่มีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.) และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นหน่วยงานที่จัดทำและนำเสนอกรอบการดำเนินงาน โครงการเมืองต้นแบบฯ จะเป็นการพัฒนาที่คำนึงถึงจุดแข็งที่เป็นอัตลักษณ์เด่นของพื้นที่เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่นและสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนได้มากที่สุด รัฐบาลจะสนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนาพื้นที่พิเศษ ได้แก่ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส และ อ.เบตง จ.ยะลา ให้มีความพร้อมสำหรับการลงทุนจากภาคเอกชน เพื่อเป็นการสร้างอาชีพและความเป็นอยู่ที่ดีแก่ประชาชนในพื้นที่ โดยมีเป้าหมายพัฒนา อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เป็น “เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร” พัฒนา อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส เป็น “ศูนย์กลางการค้าชายแดนระหว่างประเทศ” พัฒนา อ.เบตง จ.ยะลา เป็น “เมืองต้นแบบการพัฒนาที่พึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน” โดยจะแบ่งแนวทางการพัฒนาเป็น 3 ด้านด้วยกัน 

 

ภาพแม่น้ำสุไหงโก-ลก อยู่บริเวณชายแดนด่านสุไหงโก-ลก

 

สำหรับพื้นที่ อ.สุไหงโก-ลก นั้น มีอัตลักษณ์เด่นหลายประการซึ่งสามารถต่อยอดและพัฒนาเพื่อสร้างประโยชน์แก่ประชาชนในพื้นที่ได้ จึงได้รับการคัดเลือกให้เป็น “ศูนย์กลางการค้าขายแดนระหว่างประเทศ” เนื่องจากเป็นเมืองชายแดนที่มีการค้าส่งสินค้าอุปโภคบริโภคและเกษตรมานาน ชาวมาเลเซียนั้นนิยมสินค้าไทยอย่างมากในหลาย ๆ ประเภท โดยเฉพาะสินค้าที่เป็นจุดเด่นของคนไทยคือสินค้าบริโภคและงานสิ่งทอ รวมถึงงานฝีมือต่าง ๆ สำหรับคนไทยนั้นก็ได้เข้าไปทำงานในประเทศมาเลเซียเป็นจำนวนมากเนื่องจากภาษามลายูถิ่นของพื้นที่ 3 จังหวัดและภาษามลายูที่ใช้กันในประเทศมาเลเซียมีความคล้ายคลึงกัน สามารถใช้สื่อสารกันได้ดี โดยเฉพาะในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับร้านอาหารซึ่งชาวมาเลเซียให้การยอมรับในฝีมือการทำอาหารของคนไทย นอกจากการค้าขาย ภาษา และการทำงานแล้ว ประชาชนทั้งสองฝั่งเขตแดนหลายตระกูลมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกัน นับถือศาสนาเดียวกัน ทำให้ไม่รู้สึกว่าคนอีกฝ่ายเป็นคนแปลกหน้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถแปรเปลี่ยนเป็นโอกาสของประชาชนในพื้นที่ได้ อีกทั้งประชาชนใน อ.สุไหงโก-ลกนั้นมีถือว่ามีคุณภาพชีวิตที่ดี มีการศึกษาสูงและก้าวทันสมัย มีโรงเรียนและโรงพยาบาลที่พร้อมสำหรับการดูแลประชาชนในพื้นที่ ในส่วนของภาครัฐนั้นก็ถือว่าได้ลงทุนในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ดีและครอบคลุม หากพัฒนาเพิ่มเติมก็สามารถยกระดับเพื่อเป็นศูนย์กลางที่สำคัญในระดับชาติได้ เช่น สถานีรถไฟที่มีรางเชื่อมไปถึงฝั่งมาเลเซีย สถานีขนส่งที่สามารถรองรับการเดินรถระหว่างประเทศได้ และยังมีที่ดินที่อยู่ในการดูแลของการรถไฟแห่งประเทศไทยและการเคหะแห่งชาติอีกพอสมควรที่รัฐสามารถใช้ได้โดยไม่ต้องลงทุนมากนัก ด้วยศักยภาพเหล่านี้หากยกระดับเมืองให้กลายเป็นเมืองต้นแบบอย่างแท้จริงได้แล้ว ไม่เพียงแต่เชื่อมไทย-มาเลเซียเท่านั้น แต่เมืองสุไหงโก-ลกยังเป็นสะพานที่เชื่อมไทยสู่โลกมุสลิมได้อีกด้วย

สำหรับแผนการพัฒนาที่ภาครัฐได้วางแผนไว้แก่ อ.สุไหงโก-ลก นั้น ในระยะเร่งด่วนจะเป็นการมอบแหล่งทุนและสิทธิประโยชน์เพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุนในพื้นที่ ด้านต่อมาจะเป็นการส่งเสริมการลงทุนอย่างแท้จริง ด้วยการจัดตั้ง Free Trade Zone ก่อสร้างสะพานโก-ลก แห่งที่ 2 สร้างศูนย์กระจายสินค้า คลังสินค้า โรงงาน และศูนย์นิทรรศการ และด้านสุดท้ายคือการยกระดับระบบการขนส่งอย่างครบวงจร โดยในปีแรกนี้รัฐบาลได้อนุมัติประมาณแล้วกว่า 500 ล้านบาท เพื่อเตรียมการปรับปรุงสถานีรถไฟสุไหง โก-ลกให้กลายเป็นสถานีรถไฟที่เหมาะสมสำหรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ การสร้างและปรับปรุงถนนเพื่อเชื่อมโยงการคมนาคมและขนส่งด้วยถนน รางรถไฟ และสนามบิน ให้มีความสะดวกคล่องตัว และยังมีแผนที่จะสร้างท่าเรือชุมชนอีก 3 ท่าเพื่อเพิ่มช่องทางในการขนส่งสินค้าอีกด้วย นอกจากโครงสร้างพื้นฐานแล้วงบประมาณนี้ก็ยังครอบคลุมการสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษปลอดภาษีที่คาดว่าจะดึงดูดนักลงทุนและนักท่องเที่ยวจำนวนมาก แต่ปัจจัยเชิงโครงสร้างอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอที่จะยกระดับเมืองได้ ต้องพัฒนาระบบและคุณภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การค้า การลงทุน และการเดินทางข้ามแดนนั้นเป็นไปโดยง่าย

สำหรับสิ่งที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนานั้นก็มีอยู่เช่นกัน การที่สถานการณ์ในพื้นที่ไม่อยู่ในสภาวะปกติมากกว่าทศวรรษทำให้นักลงทุนไม่มีความมั่นใจที่จะกลับเข้ามายังพื้นที่ หากขาดความมั่นใจแล้วไม่ว่าจะมีมาตรการจูงใจอย่างไรก็ยากที่จะดึงดูดให้เกิดการลงทุนครั้งใหญ่ได้ ประกอบกับในช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่เศรษฐกิจโลกโดยรวมอยู่ในภาวะชะลอตัวซึ่งกระทบต่อทั้งไทยและมาเลเซียไม่มากก็น้อย ยิ่งเป็นความท้าทายที่รัฐต้องทำความเข้าใจกับนักลงทุนให้ดี และการเดินรถไฟและรถบัสระหว่างประเทศที่หยุดดำเนินการมาช่วงหนึ่งหากต้องการกลับมาดำเนินการอีกครั้งอาจต้องมีการประสานงานหลายขั้นตอน

 

 

สุไหงโก-ลก – โกตาบารู

 

ศักยภาพหนึ่งที่สำคัญของเมืองสุไหงโกลกและด่านชายแดนสุไหงโกลกนั้น คือ เชื่อมต่อไปยังมาเลเซียได้สะดวก โดยจุดหมายปลายทางที่สำคัญของผู้คนจากฝั่งไทย คือ เมืองโกตาบารู (Kota Bharu) เมืองหลวงของรัฐกลันตัน ซึ่งเป็นรัฐที่อยู่ติดกับจังหวัดนราธิวาส โดยการเดินทางจากด่านสุไหงโกลก-รันเตาปันยัง (Rantau Panjang) ระยะทางประมาณ 40 กม. ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ราว 40 นาที – 1 ชม. ก็จะถึงยังเมืองโกตาบารู วิธีการเดินทางนั้นก็สะดวกสบาย เพราะจากชายแดนสุไหงโกลกไปยังเมืองโกตาบารู ก็ทำได้หลายวิธีด้วยกัน ไม่ว่าจะเช่ารถตู้จากฝั่งไทย นั่งแท็กซี่ที่ด่าน Rantau Panjang หรือนั่งรถโดยสารประจำทางสาย 29 ของมาเลเซียก็ได้เช่นกัน ด้วยการเดินทางที่สะดวกนี้ ทำให้คนสามจังหวัดภาคใต้ของไทยนิยมเดินทางข้ามไปจับจ่ายซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าทันสมัย ที่มีอยู่หลายแห่งของเมืองโกตาบารูเป็นปกติ เนื่องจากแม้ว่าความทันสมัยในเมืองโกตาบารู และอันที่จริงคือด้านตะวันออกของประเทศมาเลเซียจะไม่เท่ากับเมืองใหญ่ฝั่งตะวันตกของประเทศ แต่ก็ยังอยู่ในระดับสูงกว่าสามจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งจนถึงปัจจุบันยังไม่มีห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ หรือร้านอาหารทันสมัย เช่น ฟาสต์ฟู้ดตะวันตก

 

สุไหงโก-ลก-รันเตาปันยัง

 

การสร้างรถไฟในสมัย จอมพล ป พิบูลสงคราม ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของเมืองสุไหงโก-ลก ในปัจจุบัน สุไหงโกลก-รันเตาปันยัง เป็นเมืองชายแดนที่ใหญ่ที่สุดของไทยและรัฐกลันตัน โดยเมืองสุไหงโก-ลก ถือว่าเป็นเมืองไม่กี่แห่งในภาคใต้ที่มีการจัดวางผังเมืองก่อนการเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ซึ่งวางเป็นตารางหมากรุก ส่วนเมืองรันเตาปันยัง ของประเทศมาเลเซีย เป็นเมืองที่มีการประกาศเขตปลอดภาษี ตั้งแต่เริ่มแรกของการสร้างเมือง นอกจากนี้เมืองแห่งนี้ยังมีสะพานข้ามแม่น้ำสุไหงโก-ลก ซึ่งเป็นเมืองแรกของไทยและมาเลเซีย ที่มีสะพานข้าม ทั้งทางรถยนต์ และทางรถไฟ อีกด้วย

 

     

      

4 ภาพ ด้านบน คือ การค้าขายบริเวณเมืองเตาปันยัง (Rantau Panjang) ประเทศมาเลเซีย หลังจากข้ามจากด่านสุไหงโก-ลก

 

 

 

• AUTHOR

 


อุสมาน  วาจิ

รัฐศาสตร์บัณฑิต ภาคความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Related Posts