
Workshop : การสร้าง Spirit ของเมืองสายบุรี
โลกเข้าสู่ความเป็นเมือง เฉกเช่นเดียวกับประเทศไทยที่กลายเป็นเมืองมากกว่า 50% หลายพื้นที่กลายเป็นเมือง ในขณะเดียวกัน เมืองกลับมีการพัฒนาตามสภาพ พัฒนาโดยขาดการมีส่วนร่วมของคนในเมือง ต่างคนต่างพัฒนาตามแนวคิดของตนเอง ทำทีละส่วน ไม่มีการบูรณาการร่วมกัน ซึ่งเป็นผลทำให้เมืองพัฒนาแบบขาดอัตลักษณ์ ขาดจิตวิญญาณของเมือง เมืองจำเป็นต้องพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม ดึงความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อพัฒนาเมืองอย่างรอบด้าน และที่สำคัญการสร้างการมีส่วนร่วมจะทำให้เมืองพัฒนาอย่างมีอัตลักษณ์ และสร้างความภาคภูมิใจให้กับเมือง ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง ร่วมกับ เครือข่ายการพัฒนาเมืองสายบุรี (กลุ่มมัสญิดตะลุบัน กลุ่มสายบุรีลูกเกอร์) จัดอบรมปฏิบัติการภายในโครงการ ผู้สร้างบ้านแปงเมือง เรื่องการสร้าง sprit ของเมืองสายบุรี
วัตถุประสงค์
- เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนและมีสุขภาวะ
- เพื่อพัฒนาเมืองอย่างมีส่วนร่วมและทั่วถึง (Inclusive city)
- เพื่อพัฒนาผู้สร้างบ้านแปงเมือง
ขั้นตอนการอบรมปฏิบัติการ สร้างสปิริตของเมือง
- ทำความเข้าใจบริบทของพื้นที่ (สภาพภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต และวัฒนธรรม)
- กำหนดเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาเมือง
- วางแผนการพัฒนาพื้นที่โดยการทำแผนที่ FURD Mapping วิธีการทำแผนที่มีดังนี้
- ชี้แจงข้อมูลของพื้นที่ (ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต วัฒนธรรมของเมืองสายบุรี) และอธิบายแผนที่ย่านที่จะเก็บข้อมูลนำเสนอ
- ชี้แจงหลักเกณฑ์การคัดเลือกแหล่งที่ตั้งสะท้อน Spirit ของเมือง วิธีการเก็บข้อมูล สำรวจ การจัดทำแผนที่ มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
- แบ่งกลุ่ม และแบ่งพื้นที่ zone เมืองสายบุรีที่ต้องการจะเก็บข้อมูล
- แต่ละกลุ่มออกไปสำรวจพื้นที่เบื้องต้น และเลือกจุดเด่นในพื้นที่ขึ้นมา (การคัดเลือกแหล่งที่ตั้ง ควรจะสะท้อน Spirit ของเมือง หรือแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของเมือง เพื่อนำเสนอบนแผนที่ นอกจากจะพิจารณาไปตามหลักเกณฑ์เฉพาะตามหมวดข้อมูล/เนื้อหาทั้ง 5 ประเภทแล้ว ยังต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ร่วมอีก 3 ประการคือ 1) แสดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณของเมือง (Spirit and Soul) จึงต้องเป็นจุดเด่นที่มีเรื่องเล่าที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประวัติความเป็นมาของเมือง หรือแสดงตัวตนของเมืองในปัจจุบัน ในแง่ที่เป็นวัฒนธรรมที่ยังมีชีวิตอยู่ (Living Culture) 2) หยิบยกเอาสิ่งที่ซ่อนอยู่มานำเสนอ (Handpick) จึงควรเป็นเรื่องราว/ข้อมูลภายใน ซึ่งคนที่อาศัยอยู่ในเมืองนั้นต้องเป็นผู้ให้ข้อมูล อาจจะไม่มีอยู่ในหนังสือหรือสื่อรูปแบบอื่น และ 3) มีตำแหน่งที่ตั้งชัดเจน เพื่อป้องกันการหลงทาง)
- แต่ละกลุ่มนำจุดเด่นของพื้นที่ที่เลือก นำเสนอให้ห้อง เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมช่วยกันแสดงความคิดเห็นและคัดเลือกจุดที่ต้องการนำเสนอจริงๆ
- หลังจากที่ทุกคนได้จุดหรือสถานที่ที่ผ่านการคัดเลือกของคนในห้องแล้ว ให้แต่ละกลุ่มออกไปเก็บข้อมูลอย่างละเอียดอีกครั้ง (โดยจะมีฟอร์มการเก็บข้อมูลให้เพื่อเป็นแนวทางในการเก็บข้อมูล) เก็บข้อมูลทั้งข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลที่มีลักษณะเฉพาะของสถานที่
- นำข้อมูลทั้งหมด สร้างเป็นแผนที่ FURD Mapping ทั้งในรูปแบบของแผนที่ทำมือ และแผน