Workshops

Workshop : การสร้าง Spirit ของเมืองสายบุรี

 

 




การอบรมปฏิบัติการภายใต้โครงการ ผู้สร้างบ้านแปงเมือง

 

เรื่อง การสร้าง Spirit ของเมืองสายบุรี



โลกเข้าสู่ความเป็นเมือง เฉกเช่นเดียวกับประเทศไทยที่กลายเป็นเมืองมากกว่า 50% หลายพื้นที่กลายเป็นเมือง ในขณะเดียวกัน เมืองกลับมีการพัฒนาตามสภาพ  พัฒนาโดยขาดการมีส่วนร่วมของคนในเมือง ต่างคนต่างพัฒนาตามแนวคิดของตนเอง ทำทีละส่วน ไม่มีการบูรณาการร่วมกัน ซึ่งเป็นผลทำให้เมืองพัฒนาแบบขาดอัตลักษณ์ ขาดจิตวิญญาณของเมือง เมืองจำเป็นต้องพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม ดึงความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อพัฒนาเมืองอย่างรอบด้าน และที่สำคัญการสร้างการมีส่วนร่วมจะทำให้เมืองพัฒนาอย่างมีอัตลักษณ์ และสร้างความภาคภูมิใจให้กับเมือง ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง ร่วมกับ เครือข่ายการพัฒนาเมืองสายบุรี (กลุ่มมัสญิดตะลุบัน กลุ่มสายบุรีลูกเกอร์) จัดอบรมปฏิบัติการภายในโครงการ ผู้สร้างบ้านแปงเมือง เรื่องการสร้าง sprit ของเมืองสายบุรี

 

วัตถุประสงค์  

  1. เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนและมีสุขภาวะ
  2. เพื่อพัฒนาเมืองอย่างมีส่วนร่วมและทั่วถึง (Inclusive city)
  3. เพื่อพัฒนาผู้สร้างบ้านแปงเมือง

 

ขั้นตอนการอบรมปฏิบัติการ สร้างสปิริตของเมือง

  1. ทำความเข้าใจบริบทของพื้นที่ (สภาพภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต และวัฒนธรรม)
  2. กำหนดเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาเมือง
  3. วางแผนการพัฒนาพื้นที่โดยการทำแผนที่ FURD Mapping วิธีการทำแผนที่มีดังนี้
  • ชี้แจงข้อมูลของพื้นที่ (ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต วัฒนธรรมของเมืองสายบุรี) และอธิบายแผนที่ย่านที่จะเก็บข้อมูลนำเสนอ
  • ชี้แจงหลักเกณฑ์การคัดเลือกแหล่งที่ตั้งสะท้อน Spirit ของเมือง วิธีการเก็บข้อมูล สำรวจ การจัดทำแผนที่ มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
  • แบ่งกลุ่ม และแบ่งพื้นที่ zone เมืองสายบุรีที่ต้องการจะเก็บข้อมูล
  • แต่ละกลุ่มออกไปสำรวจพื้นที่เบื้องต้น และเลือกจุดเด่นในพื้นที่ขึ้นมา (การคัดเลือกแหล่งที่ตั้ง ควรจะสะท้อน Spirit ของเมือง หรือแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของเมือง เพื่อนำเสนอบนแผนที่ นอกจากจะพิจารณาไปตามหลักเกณฑ์เฉพาะตามหมวดข้อมูล/เนื้อหาทั้ง 5 ประเภทแล้ว ยังต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ร่วมอีก 3 ประการคือ 1) แสดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณของเมือง (Spirit and Soul) จึงต้องเป็นจุดเด่นที่มีเรื่องเล่าที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประวัติความเป็นมาของเมือง หรือแสดงตัวตนของเมืองในปัจจุบัน ในแง่ที่เป็นวัฒนธรรมที่ยังมีชีวิตอยู่ (Living Culture) 2) หยิบยกเอาสิ่งที่ซ่อนอยู่มานำเสนอ (Handpick) จึงควรเป็นเรื่องราว/ข้อมูลภายใน ซึ่งคนที่อาศัยอยู่ในเมืองนั้นต้องเป็นผู้ให้ข้อมูล อาจจะไม่มีอยู่ในหนังสือหรือสื่อรูปแบบอื่น และ 3) มีตำแหน่งที่ตั้งชัดเจน เพื่อป้องกันการหลงทาง)
  • แต่ละกลุ่มนำจุดเด่นของพื้นที่ที่เลือก นำเสนอให้ห้อง เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมช่วยกันแสดงความคิดเห็นและคัดเลือกจุดที่ต้องการนำเสนอจริงๆ
  • หลังจากที่ทุกคนได้จุดหรือสถานที่ที่ผ่านการคัดเลือกของคนในห้องแล้ว ให้แต่ละกลุ่มออกไปเก็บข้อมูลอย่างละเอียดอีกครั้ง (โดยจะมีฟอร์มการเก็บข้อมูลให้เพื่อเป็นแนวทางในการเก็บข้อมูล) เก็บข้อมูลทั้งข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลที่มีลักษณะเฉพาะของสถานที่
  • นำข้อมูลทั้งหมด สร้างเป็นแผนที่ FURD Mapping ทั้งในรูปแบบของแผนที่ทำมือ และแผน




แผนที่ FURD Mapping (Future urban development)

        เป็นการนำเสนอเส้นทางเดินเท้าเพื่อเยี่ยมชมมรดกทางวัฒนธรรมในย่านประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญของเมือง โดยองค์ประกอบที่สำคัญของแต่ละเส้นทาง ได้แก่ แผนที่แสดงเส้นทางที่ผ่านแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของเมือง นำเสนออัตลักษณ์ วิถีชีวิตของเมือง จำแนกเป็น 5 ประเภทคือ แหล่งที่น่าชม แหล่งที่น่ากิน แหล่งทีน่าซื้อ แหล่งที่น่าทึ่ง และแหล่งที่มีความรื่นรมย์ ของเมือง เพื่อนำเสนอแหล่งวัฒนธรรมและความภาคภูมิใจของเมือง

         FURD Mapping รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับมรดกทางวัฒนธรรมของเมือง ทั้งชนิดที่มีรูปลักษณ์และไม่มีรูปลักษณ์ (Tangible and Intangible Heritage) ตามการพัฒนาของเมืองสายบุรี ที่เน้นพัฒนาในมิติเศรษฐกิจ และมุ่งสู่การเป็นเมืองท่องเที่ยว จึงกำหนดขอบเขตของข้อมูลแบ่งเป็น 5 เรื่อง จะมีรายละเอียดดังนี้

         เมืองสายน่าชม (สีฟ้า) เป็นสิ่งที่ทั้งคนในเมือง “ต้องเห็น” หรือพลาดไม่ได้เมื่อมาเดินในย่านนี้ จึงควรเป็นสิ่งที่มีความโดดเด่น เป็นตัวแทนของยุคสมัยหรือมีรูปแบบตามช่วงเวลาที่ระบุได้แน่ชัด อาจจะเป็นบ้านเก่า อาคารเก่า ตลาด ท่าเรือ หรือเป็นธุรกิจที่กำลังเลือนหายไป/กำลังมีภัยคุกคามจากการถูกทำลาย

        เมืองสายน่ากิน (สีเหลือง) เป็นอาหารที่อยากให้คนมาลองรับประทาน เป็นอาหารท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ จะเป็นเครื่องดื่มหรืออาหารก็ได้ รสชาติอร่อย และที่สำคัญควรเป็นอาหารที่ถูกสุขอนามัย มีความสะอาด ให้วัตถุดิบทีดีต่อสุขภาพ และหากมีเรื่องเล่า ความยาวนานของอาหารจะยิ่งทำให้น่าสนใจ

         เมืองสายน่าซื้อ (สีม่วง) เป็นร้านที่ควรเข้า สินค้าที่ควรซื้อ หรือควรดู ควรชม จึงต้องเป็นสิ่งที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เป็นตัวแทนของยุคสมัยหรือมีรูปแบบตามช่วงเวลาที่ระบุได้แน่ชัด อาจจะเป็นของเก่า หรือเป็นธุรกิจที่กำลังเลือนหายไป/กำลังมีภัยคุกคามจากการถูกทำลาย หรืออาจจะเป็นของใหม่ที่มีการพัฒนาสินค้าโดยผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์/ผู้ประกอบการเพื่อสังคมที่รวมตัวอยู่ในพื้นที่

         เมืองสายน่าทึ่ง(สีแดง) เป็นจุดที่มีเรื่องราวน่าประทับใจ (Cultural or Creative Expression) ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งสถานที่ สิ่งของ ผู้คน กิจกรรม ฯลฯ ที่มีเรื่องเล่า/ตำนาน หรือเป็นเรื่องที่เคยนิยม เป็นเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต แต่ปัจจุบันเลือนหายไปหมดแล้ว (Vanishing Customs)

        เมืองสายน่ารื่นรมย์ (สีเขียว) เป็นสถานที่ที่สามารถทำให้คนรู้สึกพักผ่อน หรือสบายใจ ทำให้จิตใจสงบเมื่อมาเยือนสถานที่แห่งนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นสถานที่ที่สวยงาม แต่ต้องเป็นสถานทีที่ทำให้คนมีสุขภาพจิตที่ดี เช่น มัสยิด วัด ริมแม่น้ำ หรือใต้ต้นไม้ใหญ่ วิวบนเขา

 

 

Saiburi Final Map (แผนที่วัฒนธรรมเมืองสายบุรี)

        

 

 

ผลงานฉบับสมบูรณ์ แผนที่วัฒนธรรมของเมืองสายบุรี (FURD Mapping @Saiburi) หลังจากการดำเนินงานที่หนักหน่วง ของน้องๆสายบุรี ก็ทำให้ได้ผลงานอันน่าพึงพอใจกับการนำเสนอจุดเด่นของพื้นถิ่นสายบุรี ที่สะท้อนวัฒนธรรม วิถีชีวิต ของคนที่สายบุรีได้เป็นอย่างดี แผนที่ดังกล่าวเหมาะทั้งคนในที่ภาคภูมิใจกับเมือง และคนนอกที่อยากรู้จักทุกอย่างของเมือง มีสถานที่ที่ถูกคัดเลือกทั้งหมด 38 แห่ง จำแนกตามเกณฑ์ ดังนี้

        เมืองสายน่าชม 8 แห่ง (สีฟ้า)

        เมืองสายน่ากิน 13 แห่ง (สีเหลือง)

        เมืองสายน่าซื้อ 6 แห่ง (สีม่วง)

        เมืองสายน่าทึ่ง 8 แห่ง (สีแดง)

        เมืองสายน่ารื่นรมย์ 3 แห่ง (สีเขียว)

 

 

 

 

 

Related Posts