Events

เมืองท่าอุเทน กับความท้าทายนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ

 

คุณประภาส ดอนอ่อนสา นักวิจัยอิสระ ได้เล่าถึง สถานการณ์ของเมืองภาคอีสานที่มีต่อนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษเมืองชายแดน ว่า หลังจากมีการประกาศนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ พื้นที่ริมฝั่งโขง โดยเฉพาะพื้นที่เมืองท่าอุเทน ของจังหวัดนครพนม ซึ่งพื้นที่แห่งนี้มีประวัติศาสตร์และต้นทุนทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย มีทั้งวัฒนธรรมไทยโส้ ไทญ้อ ไทยกะเลิง และคนเหล่านี้บางส่วนยังมีวิถีชีวิตทำเกษตรกรรมริมฝั่งโขงมาตลอด และต้นทุนของพื้นที่ริมโขงก็เต็มไปด้วยความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ พื้นที่ชุ่มน้ำ บุ่งป่าทาม โดยพื้นที่เกษตรริมตลิงโขง (ไม่เป็นทางการ) ที่มีอยู่ในท่าอุเทน มีจำนวน 13 พื้นที่ แต่ปัญหาที่กำลังเผชิญคือ พื้นที่เกษตรริมฝั่งโขง ที่ดินไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของเกษตรกร หรือพื้นที่ส่วนบุคคล กำลังเผชิญกับความท้าทายว่าเมื่อมีนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษเข้ามาที่เน้นการลงทุนทางขนส่ง และอุตสาหกรรมจะกระทบกับพื้นที่อย่างไรบ้าง

ขณะนี้ในริมแม่น้ำโขงท่าอุเทนมีการตั้งคลังสินค้าชั่วคราวและมีจุดผ่อนปรนท่าเรือ ซึ่งกระทบต่อการใช้พื้นที่ริมฝั่งโขง ทำให้เกิดประเด็นคำถามสำคัญว่า จะแบ่งการใช้ที่ดินริมฝั่งโขงได้อย่างไร เมื่อเกษตรกรรมริมฝั่งโขงคือวิถีชีวิตของชาวบ้านและเป็นแหล่งผลิตอาหารสำคัญของคนเมืองอุเทน และพื้นที่ใกล้เคียง เช่น มุกดาหาร หากไม่มีการทำเกษตรกรรมก็ต้อง ก็จำเป็นต้องรับผักจากเมืองหินบูน สปป.ลาว มาแทนที่ การเผชิญความท้าทายนโยบายของรัฐและต้นทุนทางพื้นที่อาจจะไม่ใช่การพัฒนาไปทางเดียวกัน เมื่อนโยบายพัฒนาอีกแบบ แต่พืนที่มีศักยภาพอีกแบบ ฉะนั้น ควรผ่านการมีส่วนร่วม การต่อรองจากทุกฝ่าย และข้อเสนอทางหนึ่งคือ ควรมีการอนุรักษ์พื้นที่เกษตรกรรมริมฝั่งโขงด้วย (อาจจะบางส่วน) เพื่อกลุ่มเกษตรกรที่ยังมีรายได้น้อยและต้องการสิทธิ์ในการใช้ที่ดิน การอนุรักษ์วิถีชีวิต ซึ่งมีผลต่อแหล่งอาหารและต่อยอดไปสู่การท่องเที่ยวได้ แต่ความเป็นไปได้ในข้อเสนอขึ้นอยู่กับอำนาจและการต่อรองทุกกลุ่ม

Related Posts