Events

ความตื่นตัวในการพัฒนาเมืองภาคใต้ กรณีสายบุรี

 

คุณอัซฮาร์ สารีมะเจ๊ะ ผู้นำสนทนา เป็นผู้มีบทบาทร่วมกับหลายกลุ่มกิจกรรมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คุณอัซฮาร์ได้ยกตัวอย่างของกลุ่มกิจกรรมหนึ่งที่ตนมีบทบาทหลักอยู่ในสายบุรี โดยจุดเริ่มต้นของความสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองสายบุรีที่เริ่มจากกลุ่มมิตรสหาย ประมาณ 4-5 คน มาจัดทำ campaign “สายบุรี จังหวัดที่หายไป” นำเสนอผ่านภาพถ่ายอันเป็นความชื่นชอบร่วมกันของกลุ่ม เพื่อนำเสนออีกมุมมองของพื้นที่ ซึ่งยังมีเรื่องราวมากมายที่ยังไม่ได้บอกเล่าให้แก่คนภายนอก หรือแม้กระทั่งคนพื้นที่ได้รับรู้ ว่า “สายบุรี” ยังมีคุณค่า ไม่ได้มีแต่ภาพลักษณ์ของการเมืองและความรุนแรงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น

 

ภาพแม่น้ำสายบุรีที่มีต้นน้ามาจากเทือกเขาบูโด ชื่อเสียงของน้ำบูดูสายบุรีนั้นเป็นที่เลื่องลือ มีการตั้งโรงงานทำบูดูแถบริมแม่น้าสายบุรี บูดูจากสายบุรีมีการส่งออกไปยังประเทศซาอุดิอาระเบีย

 

ความสำคัญของสายบุรี

สายบุรี- สายมจากคาว่า ซา แปลว่าปฏัก ท้องถิ่นเรียก ตะลุบัน ตะลุแบร์ หรือมีอีกชื่อหนึ่งในภาษา ทางวรรณกรรมว่า “ซือลินดงบายู” (แปลว่าเมืองกาบังจากลมจากพายุ เนื่องจากที่ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่ง) สาย บุรีมีความเป็นมาในอดีตที่น่าสนใจ เนื่องจากเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีตเป็นเมืองท่าที่สำคัญของจังหวัดปัตตานี อีกทั้งในอดีตเคยเป็นจังหวัดสายบุรี หลังจากที่ปัตตานีแบ่งเป็นมณฑล 7 หัวเมือง (ปัตตานี หนองจิก ยะหริ่ง รามัน ยะลา สายบุรี และระแงะ) ก่อนการกลายเป็น 4 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาสนั้น แท้จริงแล้วไม่รวมสงขลา แต่รวมอดีตจังหวัดสายบุรี ต่อมาหลังการ ปฏิวัติ 2475 ปัจจุบันเป็นอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ที่มีพื้นที่ที่อยู่กับปัตตานีและนราธิวาสเป็นบางส่วน

ความสำคัญของสายบุรีในการท่องเที่ยวนั้นยังไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่ ถูกนำเสนอเป็นภาพลักษณ์ส่วนใหญ่ สายบุรีมีความได้เปรียบในการเป็นพื้นที่ที่มีสถานที่ทางประวัติศาสตร์ หลงเหลืออยู่ เช่น วังเก่าของกษัตริย์ปัตตานีสมัยก่อน มีเกาะโลซินที่เป็นสถานที่ดำน้ำติดอันดับของประเทศไทย อีกทั้งเป็นพื้นที่ที่มีความทันสมัยรองจากเบตง ยะลา มีงานประจำปีที่เป็นงานตกปลา ในสมัยก่อนสายบุรีเคยเป็นพื้นที่ที่มีสถานบันเทิง แต่ก็ถูกยุบในภายหลัง เนื่องจากความไม่สอดคล้องกับชุมชนในพื้นที่ นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญยังให้ข้อสังเกตว่าผู้นำระดับนำของปัตตานีมีเชื้อสายเยเมน ซึ่งในสายบุรีเองก็มีผู้นำทางจิตวิญญาณที่ชื่อ บาโบอิสมาแอ เชื้อสายเยเมน จึงเห็นโอกาสที่จะเชื่อมโยงความร่วมมือด้านอื่นๆกับ เยเมนในอนาคต

ประชาชนในพื้นที่ประกอบอาชีพทางการประมงซึ่งมีทั้งประมงชายฝั่ง และประมงขนาดใหญ่ อาชีพ ทางการเกษตร การพาณิชย์ เนื่องจากสภาพพื้นที่มีทั้งส่วนที่ติดชายฝั่งทะเล ที่ราบชายฝั่ง ที่ราบเชิงเขา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามประมาณ 80% และนับถือศาสนาพุทธประมาณ 20% ปัจจุบันมี ประชากร 60,186 คน

ปัจจุบันสายบุรีเป็นเมืองที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในแง่ของวิถีชีวิต เช่น การ ประกอบอาชีพของคนรุ่นก่อนหน้านั้นส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปัจจัยหนึ่งคือการที่คนเข้าถึง การศึกษามากขึ้น เกิดบุคลากรในหลากหลายสาขาอาชีพ เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัย ทนายความ นักธุรกิจ กลายเป็นผู้ประกอบการมากขึ้นในท้องถิ่น เช่น มีการเปิดสถาบันกวดวิชา คลินิกรักษาโรค การเกิดขึ้นของ อาคารพาณิชย์ อีกทั้งที่ดินที่มีราคาแพงขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของข้อบ่งชี้ความเป็นเมืองที่ก่อตัวขึ้น ในสายบุรี

 

การขับเคลื่อนของภาคประชาสังคม

การทำกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองมุ่งไปที่มีความสนใจในตัวตะลุบัน หรือตัวอำเภอสายบุรี เนื่องจากเห็นว่าเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยเป็นพื้นที่ที่มีประชากรมากที่สุด เป็นชาวมุสลิมส่วนใหญ่ ประมาณ 80% ที่เหลือเป็นชาวไทยพุทธและชาวจีน อีกทั้งเป็นพื้นที่ที่มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานครบถ้วนตามลักษณะที่เคยเป็นจังหวัดมาก่อน ทั้งโรงพยาบาล โรงพัก มัสยิด เป็นต้น อีกทั้งมีเกลุ่มภาคประชาชนที่ เข้มแข็ง

กลุ่มที่ทำกิจกรรมในพื้นที่นั้นเคยมีบทบาทเป็นแกนนำนักศึกษาในอดีต ที่เคยปรากฏตัวครั้งแรกเมื่อ ปี 2550 เป็นนักศึกษาในพื้นที่ที่ไปศึกษาในกรุงเทพมหานคร เช่น ม.ธรรมศาสตร์ ม.รามคาแหง รวมไปถึง นักศึกษาต่างถิ่นบางส่วน หลังเหตุการณ์ในปี 2547 โดยสถานการณ์ช่วงนั้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับการกดดันมาก นักศึกษากลุ่มดังกล่าวได้มีบทบาทเข้าไปช่วยจัดตั้งขบวนการภาคประชาชน เพื่อให้ ประชาชนมีบทบาทในสังคม นักศึกษากลุ่มนี้หลังจากจบการศึกษา ก็มีบทบาทในองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) กระจายกันไปทางานร่วมกับเครือข่ายการพัฒนาต่างๆในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึง กลุ่มของตัวเองด้วย

บรรยากาศของกลุ่มกิจกรรมในจังหวัดต่าง ๆ เป็นไปโดยแตกต่างกัน นราธิวาสจะเป็นพื้นที่ที่เติบโต ช้าที่สุดในเรื่องของกระบวนการภาคประชาชน ที่เติบโตเร็วจะเป็นยะลาและปัตตานี แต่ยะลาอาจมีการ เติบโตที่สูงกว่าเนื่องจากประชาชนได้รับแรงกดดันจากหลายเหตุการณ์มากกว่า

 

ฟื้นความทรงจาสายบุรี จังหวัดที่หายไป

ตัวผมเองร่วมกับหลายกลุ่มกิจกรรมในพื้นที่สามจังหวัด ชายแดนภาคใต้ ยกตัวอย่างของกลุ่มกิจกรรมหนึ่งที่ผมมีบทบาทหลักอยู่ในสายบุรี โดยจุดเริ่มต้นของความสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองสายบุรีที่เริ่มจากกลุ่มมิตรสหาย ประมาณ 4-5 คน มา จัดทำ campaign “สายบุรี จังหวัดที่หายไป” นำเสนอผ่านภาพถ่ายอันเป็นความชื่นชอบร่วมกันของกลุ่ม เพื่อนำเสนออีกมุมมองของพื้นที่ ซึ่งยังมีเรื่องราวมากมายที่ยังไม่ได้บอกเล่าให้แก่คนภายนอก หรือ แม้กระทั่งคนพื้นที่ได้รับรู้ ว่า “สายบุรี”ยังมีคุณค่า ไม่ได้มีแต่ภาพลักษณ์ของการเมืองและความรุนแรงใน พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น โดยมีการนำเสนอผ่าน Social media มี่สามารถเข้าถึงได้ง่ายอย่าง เฟสบุ๊ค ชื่อเพจ “Saiburi Looker”- ผู้เฝ้ามองแห่งสายบุรี

 

ภาพเฟสบุ๊ค เพจ Saiburi Looker

 

เพื่อบันทึกและนำเสนอเรื่องราวจากในพื้นที่ โดยเฉพาะสิ่งที่ไม่ถูกนำเสนอในสื่อกระแสหลัก บันทึกความเปลี่ยนแปลงจากอดีตจนถึงปัจจุบันและเป็นพื้นที่การมีส่วนร่วมและเชื่อมสัมพันธ์ของคนในพื้นที่ กิจกรรม ดังกล่าวได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนที่เป็นกระบอกเสียงหนึ่ง ส่งผ่านการทำงานพัฒนาเมืองของกลุ่มให้เป็นที่รับรู้ในวงกว้าง เช่น การสัมภาษณ์ทางกลุ่มเพื่อนาไปทำรายการของสถานี Thai PBS

 

ภาพถนนเกาหลี เป็นถนนเส้นหนึ่งในสายบุรี ที่สร้างโดยวิศวกรชาวเกาหลี
ผู้ที่อยู่บนรถจักรยานยนต์คือ “ลีเมียงบัค” อดีตประธานาธิบดีเกาหลีใต้

 

ภาพ “ฝรั่งสายบุรี” เป็นฝรั่งของโรงพยาบาลคริสเตียนที่ตั้งอยู่ในสายบุรีที่สมัยนั้นชาวบ้านนิยมไปรักษากันมาก

 

ความร่วมมือและการสนับสนุนในการทำกิจกรรมด้านการฟื้นฟูเมือง

สายบุรีเป็นพื้นที่หนึ่งที่ความพร้อมด้านบุคลากร ที่อยู่หลากหลายสาขาอาชีพ เครือข่ายประชาชน เช่นฝ่ายศาสนา ฝ่ายเยาวชน ฝ่ายสตรีในพื้นที่ก็เข้มแข็ง ที่ล่าสุดกลุ่มสตรีตะลุบันได้อยู่ระหว่างรวบรวมเงิน จำนวนหนึ่งเพื่อซื้อวังเก่า “วังกูฮามิด” ในราคา 10 ล้านบาท ให้เป็นที่สำหรับทำกิจกรรมร่วมกันระหว่าง ประชาชนในพื้นที่ ที่มีทั้งชาวมุสลิม ชาวไทยพุทธ และชาวจีน อีกทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้สาธารณะประโยชน์ ตัวอย่างของบุคลากรจากหลากหลายอาชีพของสายบุรีที่ให้การสนับสนุนการทำกิจกรรมในพื้นที่ Hara Shintaro นักวิชาการชาวญี่ปุ่น เป็นอาจารย์ประจาอยู่ที่ มอ.ปัตตานี ผู้มีบทบาทเคลื่อนไหวเรื่อง สันติภาพ แต่งงานกับชาวสายบุรีก็ได้ร่วมเป็นแกนหลักในการทำกิจกรรมพื้นที่  คุณคัมภีร์ ดิษฐากร อดีตรองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร คุณชาญ อิสสระ (ตระกูลธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในกลุ่มบริษัท ชาญอิส สระ ดีเวล็อปเมนท์ จำกัด (มหาชน))

 

การดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาในพื้นที่สายบุรี

การทำกิจกรรมในพื้นที่อำเภอสายบุรีนั้นเป็นการพัฒนาเมืองที่อาศัยบทบาทการมีส่วนร่วมของ เครือข่ายแกนนำและภาคประชาชนที่มีความเข้มแข็งและให้ความสนใจสม่ำเสมอ ค่อนข้างไร้ความกังวลต่อ กลุ่มผู้ติดอาวุธเพราะเนื่องจากทั้งกลุ่มที่ทำกิจกรรมและกลุ่มติดอาวุธต่างเป็นคนในพื้นที่ อีกทั้งมีข้อตกลง ร่วมกับกลุ่มที่ทำกิจกรรมว่าสามารถมาร่วมกิจกรรมด้วยได้ แต่ห้ามพกพาอาวุธ การทำกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองสายบุรีจึงเป็นการทำเพื่อเรียกให้กลุ่มผู้ติดอาวุธได้มาเข้าร่วมและรับฟัง เพื่อลดความตึงเครียดทางการเมือง

- งาน "ความเป็นมาการเมืองไทย ความเป็นไปปาตานี" เป็นการจัดเสวนาครั้งแรกขึ้นที่วังในชื่อ “ความเป็นมาการเมืองไทย ความเป็นไปปัตตานี ” มีประชาชนมาร่วมอยู่เป็นจานวนมาก โดยเป็นการทางานร่วมกันระหว่างแกนนำ Saiburi Looker และ เครือข่ายภาคประชาชนในพื้นที่

- กิจกรรม “สาดสี เมืองสาย” แกนหลักของกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มศิลปิน มีช่างถ่ายรูป นักวาดภาพ ถ่ายทอดสายบุรีในมุมมองต่างๆ เน้นกิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อความสัมพันธ์ในชุมชน ลดช่องว่างระหว่างชาวบ้านในพื้นที่ที่เป็นชาวพุทธและ มุสลิม ซึ่งได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรมีการปลูกฝัง ให้เด็กรักในสายบุรีโดยการใช้ศิลปะ เสนอให้มีการมอบทุนการศึกษาให้แก่เด็กที่วาดภาพสายบุรีผ่านมุมมองของเด็กเอง ไม่เน้นความสวยงาม แต่เน้นให้คุณค่าทางจิตใจ

 

- เสวนาจิบกาแฟระลึกความทรงจาเมืองสายบุรี 15 เมษายน 2557 ณ วังกูฮามิด เพื่อเป็นการเสวนานั่งจิบกาแฟราลึกถึงเรื่องราวเก่าๆของสายบุรี โดยกลุ่มเครือข่ายและประชาชนใน พื้นที่ที่มีความสนใจในประวัติศาสตร์ของสายบุรี อีกทั้งมีการวางแผนกิจกรรมที่จะทาเพื่อสายบุรีต่อไปใน อนาคต นอกจากนี้กิจกรรมเสวนาจิบกาแฟดังกล่าวยังมีการจัดขึ้นโอกาสที่ต้องการระดมทุนเพื่อนาไปใช้ใน การทำกิจกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองสายบุรี กิจกรรมดังกล่าวได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนที่เป็นกระบอกเสียงหนึ่ง ส่งผ่านการทำงานพัฒนาเมืองของ กลุ่มให้เป็นที่รับรู้ในวงกว้าง เช่น การสัมภาษณ์ทางกลุ่มเพื่อนาไปทำรายการของสถานี Thai PBS ภาพการสัมภาษณ์กลุ่มแกนกิจกรรมโดยสถานีโทรทัศน์ ThaiPBS

 

 

ความตั้งใจในอนาคต 

- ทางแกนนำได้ตั้งใจที่จะนำเรื่องราวของสายบุรี รวบรวมองค์ความรู้ในชุมชนและจัดทำเป็นหนังสือ- รวบรวมองค์ความรู้ต่างๆที่ไม่ใช่เรื่องเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่อย่างเดียวเท่านั้น แต่คือ การรวบรวมองค์ความรู้ของชุมชน อันเป็นภูมิปัญญาที่สั่งสมกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เช่น การบริหารจัดการน้ำ การบริหารจัดการประมงเพื่อเป็นเมืองท่า และพัฒนาเป็นองค์ความรู้ ขึ้นเป็นรูปธรรม เช่นเป็นงานวิจัยที่มีการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระเบียบแบบแผน เป็นวัตถุดิบ ให้ลูกหลานได้เรียนรู้ และนำไปใช้ในอนาคต

- ผลิตสื่อ สื่อสารคดี – การทำ campaign เรื่องการแต่งกายแบบมลายู ช่วงในวันอีด (วัน เฉลิมฉลองของชาวมุสลิม) โดยนำเสนอมีจุดประสงค์เพื่อนาชุดมาเลย์-ปัต ตาเนี่ยน กลับมาใส่ใหม่

- จัดนิทรรศการเรียนรู้ท้องถิ่น จัดสร้างศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมและวัฒนธรรมท้องถิ่น – รวบรวมภูมิปัญญาอันมีค่าที่สืบทอดกันมา ซึ่งตรงกับการให้ข้อเสนอจากผู้เชี่ยวชาญ ว่าควร มีเป้าหมายในการจัดทำพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ โดยรวบรวมเอกสารของทั้ง ชาวตะวันตก ชาวอาหรับ เป็นความรู้ทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับปัตตานี อันจะ กลายเป็นสมบัติร่วมกันของชาวปัตตาเนี่ยน ที่มีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ นอกจากนี้มีการ ถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อสามารถเผยแพร่ให้เป็นที่รับรู้ถึง ประวัติศาสตร์ที่หายไปในวงกว้าง

- สนันสนุนบทบาทของประชาชนทุกภาคส่วนในการสร้างสันติภาพในพื้นที่ – สันติภาพใน พื้นที่จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หากมีเฉพาะบทบาทของพี่น้องมุสลิมเพียงกลุ่มเดียว มี campaign “ซาตูปัตตานี” (ซาตูแปลว่า 1) ที่นิยามในเชิงกว้างว่า ปัตตาเนี่ยนไม่ใช่เฉพาะคน ที่เป็นมาเลย์ มุสลิม แต่ปัตตาเนี่ยนได้หมายรวมถึงทุกคนในพื้นที่ ทั้งชาวมาเลย์ มุสลิม พุทธ จีน ฯลฯ ซึ่งทุกคนมีบทบาท สิทธิหน้าที่ในพื้นที่เท่ากันในการขับเคลื่อนประเด็นเรื่องสันติภาพร่วมกัน

 

Related Posts