
ปูรณ์ ขวัญสุวรรณ : ชีวิตประจำวัน : ความหมาย คุณค่า ย่านชุมชนเก่า
แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง ได้จัดเวทีประชุมวิชาการในหัวข้อ "ชีวิตประจำวัน : ความหมาย คุณค่า ย่านชุมชนเก่า" โดย อ.ปูรณ์ ขวัญสุวรรณ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งอยู่ในกลุ่มสถาปนิกที่ให้ความสนใจในการอนุรักษ์ย่านชุมชนเก่า มีพื้นทีการทำงานที่ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก โดยฉายภาพให้เห็นถึงแนวคิดเรื่องเมือง ในหนังสือ everyday urbanism ที่ให้อธิบายถึงแนวคิด การมีเมืองเกิดขึ้น คนพยายามดิ้นรน จัดการพื้นที่ด้วยตัวของตัวเอง อาจต้องไปเบียดกับพื้นที่สาธารณะ เกิดแผงลอย เพื่อทำประโยชน์ให้อยู่รอดได้ในเมือง หรือร้านค้าในย่านชุมชนเก่าที่ยังคงดำเนินอยู่ให้กับผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมือง เพื่อตอบสนองให้คนในย่านนั้นจับจ่ายซื้อของได้ ซึ่งในปัจจุบันเราพยายามจะไล่รื้อพื้นที่แผงลอย หรือความเป็นเมืองเกิดทำให้ร้านค้าเก่าๆ หายไป ซึ่งจริงๆ แล้วมันเป็นส่วนหนึ่งของเมือง มีความหมายบางอย่างที่ซ่อนอยู่ในเมือง เป็น Function ที่ตอบสนองคนในพื้นที่อยู่่แล้ว ซึ่งทำให้ย่านนั้น(ชุมชน) มีชีวิต แต่ทั้งนี้ร้านค้าแผงลอยก็ควรอยู่ภายใต้การจัดการ อย่างเช่นที่ประเทศสิงคโปร์ทำ ซึ่งเป็นแนวคิดที่จะชี้ให้เห็นว่า เพราะอะไรถึงควรมีการอนุรักษ์ย่านชุมชนเก่าเกิดขึ้น เพราะมันมีความหมาย มีคุณค่า ที่ตอบสนองคนในพื้นที่ได้
คลิกเพื่ออ่าน - ชีวิตประจำวัน : ความหมาย คุณค่า ย่านชุมชนเก่า