Events

สถานการณ์การพัฒนาเมืองในภาคเหนือ

 

สามารถ  สุวรรณรัตน์

 

 

ทุก ๆ ครั้งเวลามองเมือง จะมีมุมมองจากภายนอกเข้าไปว่าเมืองเหนือมีลักษณะอย่างไร ซึ่งผมได้พยายามทบทวน ตัวเองว่าในมุมมองตัวเองแล้วเมืองเหนือเป็นอย่างไร จึงได้เห็นว่าเมืองเหนือมีเรื่องราว ตามความเข้าใจจากการทางานในพื้นที่ มองเห็นว่าจริงๆ มีการทำงานอยู่สองส่วนภายในเมือง

ส่วนแรกคือส่วนพื้นที่ชีวิต(Life and Space) ซึ่งเป็นเรื่องของผู้คนที่ใช้พื้นที่ของเมือง  ส่วนที่สองคือเมืองในฐานะที่เป็นพื้นที่ที่มีหน้าที่(Functional) บางอย่างในการบริการให้กับคนที่ใช้พื้นที่อยู่ ดังจะเห็นว่าเมืองเชียงใหม่หรือเมืองเหนือที่คนทั่วไปเห็นมีรากฐานความรุ่งเรืองมาแต่อดีต 700 – 1300 กว่าปี และหน้าที่ของมันที่เป็นมาโดยตลอดคือการเป็นที่อยู่อาศัย เป็นศูนย์กลางการบริหารราชการ เป็นศูนย์กลางการศึกษา และศูนย์กลางธุรกิจ ในขณะที่ตัวมวลของชีวิตหรือพื้นที่ชีวิตที่มีอยู่ตอนนี้ที่คนอยู่อาศัยกันตอนนี้มันมีลักษณะร่วมและมี การปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งน่าสนใจคือเรื่องความทรงจำร่วมกับพื้นที่ ในแต่ละยุค แต่ละสมัยมีการซ้อนทับแตกต่างกันไป แต่ละคน แต่ละสมัย และเรื่องโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมในรุ่นของผม ในการทำงานกับเพื่อนก็จะแตกต่างกันจากป้าๆ ลุงๆ ที่อยู่ตามชุมชนต่างๆ เวลาลงไปพูดคุยก็จะเห็นว่ามีโครงสร้างทางสังคมอีกแบบ วิถีชีวิต ความเชื่อ ค่านิยมก็ เช่นเดียวกัน ตลอดจนคุณค่าและความหมายร่วมกันที่เข้ามารวมกันในพื้นที่

สิ่งที่สำคัญมากของเมือง โดยเฉพาะในเมืองในภาคเหนือ คือเรื่องพลวัตรการเคลื่อนตัวทางสังคม อันเป็นการที่ผู้คนได้มาปฏิสัมพันธ์กันแล้วมองเห็นประเด็น หรือภาพบางอย่างร่วมกัน ซึ่งภายหลังจากได้เข้าไปทางานกับชุมชนในระยะ หนึ่ง ก็เริ่มเห็นว่าเกิดการเคลื่อนไหวของกลุ่มคน โดยที่มีประเด็นอะไรสักอย่างซึ่งผุดขึ้นมาตลอด โดยเฉพาะเชียงใหม่ และ การปฏิสัมพันธ์ระหว่างสองพื้นที่มันทาให้เกิดแรงกระเพื่อมบางอย่างที่ก่อรูป และกลายเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเมืองกับคน

 

ความเป็นเมืองในภาคเหนือ

ความพิเศษของเมืองในภาคเหนือที่แตกต่างจากภาคอื่นๆ คือ ในฐานะของการเป็นอาณาจักรล้านนา ปกติเราจะ มีประวัติศาสตร์ว่าเจ้านั้นขึ้นครองอย่างนั้นอย่างนี้แต่ว่าประวัติศาสตร์ของความเป็นท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ของความเป็น ชุมชนที่มีพัฒนาการ และมีความเปลี่ยนแปลงจากการพัฒนา ไม่ว่าจากอำนาจทางการเมืองก็ตาม หรือว่าการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบของเศรษฐกิจ ได้ส่งผลอะไรกับพื้นที่ของชุมชน เกิดอะไรกับชุมชนบ้าง ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่ทาให้ผมรู้สึกว่าพื้นที่เมืองเหนือมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพจากการพัฒนา และการซ้อนทับของการเป็นเมืองประวัติศาสตร์การที่คนเคยเข้าใจคุณค่าอะไรบางอย่าง ความทรงจาร่วมยังมีมาก และความรู้สึกว่าตัวตนเป็นอะไรที่จับต้องลำบาก ซึ่งผม พยายามแยกออกมาให้เห็น ภายหลังที่ผมกลับมาจากอินเดีย ผมเห็นว่าเมืองเชียงใหม่แตกต่างออกไปจากตอนที่สมัยเรียน โดยสมัยเรียนรู้สึกว่ามันเป็นมุมมองที่เมืองเชียงใหม่กำลังเดินทางไปสู่การเป็นเมืองเหมือนกรุงเทพฯ แต่หลังจากนั้นสามปี ผมกลับมาและเริ่มคุยกับชาวบ้าน เริ่มคุยกับชุมชน คุยกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สานักวิชาการ จะเห็นได้ว่าเริ่มมีความเป็นท้องถิ่นนิยมกับการพยายามค้นหาตัวตนของตัวเอง แต่ก็ยังมีตัวตนที่หลากหลาย โดยบางกลุ่มที่เชื่อมั่นเรื่องการ สร้างพื้นที่ทางการเมืองใหม่ก็จะไปเน้นประเด็นเรื่องการจัดการตัวเอง บางกลุ่มที่ค้นหาอัตลักษณ์ก็จะไปทำเรื่อง ศิลปวัฒนธรรม แต่องค์รวมความเข้าใจของการเป็นเมืองเชียงใหม่จะมีอะไรเป็นจุดกลางที่คนเกาะเกี่ยวกันอยู่

สาเหตุที่ทาให้เชียงใหม่เดิมอยากเป็นกรุงเทพฯ แห่งที่สอง ตอนนี้เริ่มคิดเรื่องเอกลักษณ์ ประวัติศาสตร์ เรื่อง ตัวตน เรื่องลักษณะพิเศษ คือ เกิดจากสองแนวทาง แนวทางหนึ่งเกิดจากแรงอัดของการที่นโยบาย และการพัฒนาต่างๆ มาจากส่วนกลางทั้งหมด ซึ่งคนเมืองมีนิสัยอย่างหนึ่งคือ เวลานั่งคุยกันจะไม่พูด ไม่แสดงออกความคิดเห็น แต่พอลุกออก จากวงพูดคุยจะมีการแสดงความเห็นมากขึ้น แต่พอให้กลับมาพูดในวงประชุมมักจะพูดแต่ว่า “แล้วแต่เต๊อะ” “เอาเลย เต็มที่” ซึ่งภาวการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นตลอดโดยเฉพาะที่เป็นเรื่องจากส่วนกลางจากภาครัฐ อีกแนวทางหนึ่งคือการเกิดการ เรียนรู้ตั้งแต่ปี 2500 ตั้งแต่กลุ่มปัญญาชนระดับบนเริ่มนานวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามา ตั้งแต่การบริโภค องค์ความรู้ การสืบค้น ประวัติศาสตร์ นำมาสื่อสาร และพูดคุยในวงกว้างมากขึ้น พยายามจะนิยามว่าต้องเป็นอย่างไร ต้องใส่เสื้อม่อฮ่อม พิธีกรรมต้องทำแบบนี้ถึงจะถูกต้อง จึงทำให้คนเริ่มตื่นขึ้นมาในระยะของป้าๆ น้าๆ ที่ทำเรื่องนี้กันมานาน จนทุกวันนี้องค์ความรู้เรื่องล้านนามีความเข้มแข็ง บรรยากาศดังกล่าวไม่ได้จำกัดตัวอยู่แค่ในเวทีของนักวิชาการเท่านั้น ความน่ารักของ เชียงใหม่ หรือเมืองเหนืออื่นๆ คือ การมีวงของชาวบ้าน วงของปราชญ์ วงภูมิปัญญาซึ่งเชื่อมโยงด้วยกัน ดังนั้นเส้นแบ่งของความเป็นวิชาการกับความเป็นชาวบ้านจึงสอดคล้องไปด้วยกัน ผมว่าทั้งสองปัจจัยช่วยหนุนให้ความต้องการเป็นเมือง เชียงใหม่จะเป็นไปในทิศทางไหน เพื่อรักษาทรัพยากร หรือต้นทุนซึ่งคนข้างนอกมองไม่เห็น หรือเลือกที่จะมองข้าม หรือ ไม่ให้ความสำคัญ เหล่านี้จึงเป็นความเคลื่อนไหวที่สำคัญ โดยเฉพาะช่วงปี 2540

ในช่วงต้นที่ล้านนาเริ่มเป็นอาณาจักร ปกครองในระบบศักดินา พญามังราย กับมังรายศาสตร์ คือจะเป็นเรื่อง การแบ่งปันทรัพยากรโดยที่มีคนหนึ่งคนบอกว่ามันต้องอย่างนั้นอย่างนี้และเมื่อช่วงเปลี่ยนผ่าน หลังจากพม่าเข้ามา หลังจากกาวิละ เริ่มเข้ามาสู่การเป็นรัฐไทยแล้ว มีกระบวนการหลายอย่างซึ่งรัฐไทยใช้กับเมืองเชียงใหม่ ทั้งการใช้คนนอก การใช้การค้า การเปลี่ยนระบบภาษี การเปลี่ยนระบบที่ดิน ปฏิรูปที่ดินใหม่ ให้คนซื้อที่ดินได้ในล้านนา และการจ่ายภาษี ด้วยเงิน จากในอดีตที่จ่ายเป็นหมากหรือพลู เมื่อต้องจ่ายเป็นเงิน คนท้องถิ่นจึงต้องทางานเพื่อหาเงิน ไม่เพียงทางานเพื่อ หาทรัพยากรในการแลกเปลี่ยน เมื่อระบบธุรกิจเปลี่ยน คนเมืองเองก็ต้องเปลี่ยนตัวเองตาม ซึ่งส่งผลต่อกายภาพของเมือง โดยรวมคือ การค้าริมนา อาคารต่างๆ ที่เข้ามา สถาปัตยกรรมจีน สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ที่จะเห็นตามเส้นแกนของเมือง รวมทั้งแผนพัฒนาต่างๆ ที่เข้ามา โดยเฉพาะแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 4 และ 5 ซึ่งมุ่งเรื่องการพัฒนาภูมิภาค ลดการโต เดี่ยวของกรุงเทพฯ โดยที่ไปหาเมืองตามภูมิภาคแล้วพยายามปั้นเมืองเหล่านั้นขึ้นมา ด้วยเหตุนี้ท้าให้เชียงใหม่มีโอกาสมากมาย เกิดโรงงานอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย ท่าอากาศยานนานาชาติ จึงทำให้การพัฒนาที่เกิดขึ้นได้กระจุกตัวอยู่ เฉพาะในตัวเมืองแล้วแผ่ออกไปอย่างไม่มีทิศทางการควบคุม เป็นลักษณะของการกระจายตัวตามธรรมชาติ และที่น่าสนใจคือนโยบายที่เข้ามา เป็นนโยบายที่เกิดจากการพยายามมองจากคนภายนอกว่าเชียงใหม่อย่างไร กลายเป็นจินตภาพของเมืองเหนือจากสายตาของคนนอกว่ามีวัฒนธรรม มีสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศที่ดี เป็นเมืองที่น่าอยู่ จึงทาให้เกิดการสร้างแผนพัฒนาเศรษฐกิจขึ้นมาเพื่อจะพยายามให้เมืองโตแบบที่ไม่แน่ใจว่าคนในพื้นที่ต้องการหรือไม่ ซึ่งเป็นการผลัก ให้เมืองเชียงใหม่เติบโตในด้านธุรกิจและการลงทุนด้านการท่องเที่ยว อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ ซึ่งเอาเข้าใจจริง หากถามว่า เชียงใหม่เหมาะสาหรับการท่องเที่ยวหรือไม่ แต่ละคนจะตอบแตกต่างกันไป

หลังจากที่เชียงใหม่เริ่มได้รับความนิยมด้านการท่องเที่ยว ปรากฏการณ์ที่เห็นคือเมืองมีความหนาแน่นมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนประตูท่าแพ ที่เคยเป็นย่านธุรกิจการค้าดั้งเดิมของชาวจีน จะมีตลาดวโรรส เป็นท่าเรือเดิมที่อดีตเป็นของเจ้า แล้วเปิดพื้นที่ให้สาหรับเปิดขายเปิดเช่า และมีกลุ่มนายทุนที่มีความสนิทชิดเชื้อกับราชวงศ์ของเชียงใหม่ก็สร้างที่อยู่ อาศัยในบริเวณดังกล่าว แต่ในช่วงหลังถูกเปลี่ยนไปเป็นเกสต์เฮ้าส์ เป็นธุรกิจบริการการท่องเที่ยวมากขึ้น และความเปลี่ยนแปลงเกิดตามแนวการขนส่ง เรื่องสถานีรถไฟ สถานีรถประจาทาง

 

การฟื้นฟูชุมชนเมืองล่ามช้าง

กรณีตัวอย่างพื้นที่เล็กๆ ตรงมุมตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีชุมชน “ล่ามช้าง” หรือที่เรียกว่า “ย่านล่ามช้าง เชียงมั่น” เป็นชุมชนที่น่าอยู่ ผมลงไปทาโครงการที่นี่ในการฟื้นฟูชุมชนโดยหาเครื่องมือที่ทำให้คนในชุมชนมาพูดคุยกันว่าจะทำโครงการอะไรเพื่อเก็บวิถีชีวิตของคนในย่านไว้ให้ได้ ชุมชนนี้น่าสนใจเพราะมีสายสัมพันธ์ที่ดี มีบ้าน วัด โรงเรียน ที่อยู่ติดๆ กัน และมีตลาดโถงไม้แบบเก่าอายุประมาณ 60 – 70 ปี ซึ่งเหลือที่เดียวในเชียงใหม่ มีวัดแห่งแรกของเมืองเชียงใหม่ คือ วัดเชียงมั่น ตลอดจนมีพื้นที่สีเขียวมากมาย สงบ เงียบ ไม่มีอาชญากรรม แต่ถึงกระนั้นก็มีปัญหาจนต้องมีการประชุมเล็กๆ โดยมีการนัดผู้ประกอบการเกสต์เฮ้าส์กับชาวบ้านที่อยู่รอบๆ ชุมชน เพื่อพูดคุยว่าในชุมชนตอนนี้มีปัญหาอะไรบ้างที่เกิด จากการท่องเที่ยว ซึ่งได้มีการสะท้อนออกมาหลายอย่าง และตอนนี้มีการคุยกันว่าจะทำมาตรฐานการท่องเที่ยวสาหรับชุมชนล่ามช้างอย่างไร

พื้นที่ประมาณเกือบๆ 200 หลังคาเรือนในชุมชนล่ามช้างที่มีสัดส่วนของอาคารที่เป็นธุรกิจท่องเที่ยวมากถึง 60% และอาคารที่อยู่อาศัย 40% เมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้วธุรกิจบริการการท่องเที่ยวมีน้อยมาก แล้วก็เห็นว่าเป็นลูกๆ หลานๆ ที่เปิด แต่ทุกวันนี้เป็นใครแล้วก็ไม่รู้ แต่ชุมชนนี้โชคดีที่คนที่อยู่ข้างในชุมชนไม่ขายที่ให้คนนอก แต่จะปล่อยให้เช่า แล้วก็ออกไปอยู่บ้านจัดสรร ซึ่งตอนนี้กำลังหามาตรการที่จะทำให้คนในพื้นที่กลับมาอยู่ในชุมชนมากขึ้น เพราะคนในพื้นที่มี sense of belonging มากกว่าคนนอกพื้นที่ที่เข้ามาทาธุรกิจท่องเที่ยว

 

บทส่งท้าย

แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 จะเห็นว่าส่งเสริมการพัฒนาค่อนข้างมาก จะเห็นได้ว่าช่วงปี พ.ศ. 2540 – 2545 เป็นวาระสำคัญของเมือง เนื่องจากเชียงใหม่ครบรอบ 700 ปี และช่วงนั้นเศรษฐกิจตกต่ำ ทาให้สำนึกรักบ้านเกิด และแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นกระแสที่มากขึ้น ผู้คนเริ่มกลับมาบ้านเกิด และเริ่มถามหา รื้อฟื้นตัวตนว่า คน “เมือง” คืออะไร ความเป็นล้านนาคืออะไร จึงก่อเกิดขบวนการเคลื่อนไหวในลักษณะของโรงเรียนสืบสานภูมิปัญญา เครือข่ายภูมิปัญญา ที่เริ่มก่อตั้งขึ้นมาในช่วงนั้น และได้รับความนิยมสูง ภายหลังมีโครงการใหญ่ตามมาเรื่อยๆ ซึ่งเข้าไป ขัดกับพื้นที่ป่าในเมืองเชียงใหม่ ตลอดจนในช่วงที่ผังเมืองหมดอายุได้มีการเข้ามาถือครองพื้นที่โดยไม่ได้รับการควบคุม ทำให้พื้นที่ที่ควรจะถูกกากับโดยผังเมืองนั้นขาดการพัฒนาอย่างไร้ทิศทาง ความเคลื่อนไหวการพัฒนาเมืองโดยประชาชน เกิดจากคำถามว่าถ้าเมืองเก่ามีต้นทุนเป็นประวัติศาสตร์แล้ว และเมืองเก่ายังต้องมีชีวิตอยู่ กระบวนการแบบไหนที่จะเป็นแนวโน้ม หรือเป็นวิธีการฟื้นฟูเมืองได้ โดยได้รวบรวม กรณีศึกษาจากพื้นที่ต่างๆ เช่น ชมรมบ้านเก่าเมืองแม่ฮ่องสอน ที่มีชาวบ้านรวมกันในการปรับปรุงสีอาคารโดยได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลปีละ 100,000 บาท, เครือข่ายลูกหลานเมืองแพร่ ที่ถนนกาดพระนอน จะมีบ้านเก่าอยู่มาก แล้วมี สถาปนิก 2-3 คนที่เห็นว่าควรเก็บความสวยงามและวิถีชีวิตนี้ไว้ เลยได้มีการจัดกิจกรรมเปิดถนนคนเดิน เป็นต้น

 

 

 

• AUTHOR

 


สามารถ  สุวรรณรัตน์

นักวิชาการอิสระ

Related Posts