Events

โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท กรณีศึกษา ชุมชนไวท์เฮาส์ คลองหลวง ปทุมธานี

 

ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรัฐกิจ ได้ร่วมจัดเวทีถอดบทเรียน เรื่อง โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท กรณีศึกษา ชุมชนไวท์เฮาส์ คลองหลวง ปทุมธานี ร่วมกับเทศบาลเมืองคลองหลวง และชุมชนไวท์เฮาส์ เวทีดังกล่าวได้รับเกียรติจากประธานชุมชนไวท์เฮาท์ และประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน" (อสม) 12 ซอย รวมผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 20 คน

ตัวแทนประธานชุมชนล่าให้ฟังว่า ชุมชนไวท์เฮาท์ เกิดในช่วงที่มีการลงทุนอุตสาหกรรมในพื้นที่คลองหลวง หลังมีนโยบายขยายอุตสาหกรรมในพื้นที่ใกล้กรุงเทพ หลังปี 2510 ชุมชนเกิดจากบ้านจัดสรร ที่มีคนหลากหลายถิ่นย้ายเข้ามา เพื่อเป็นแรงงานในอุตสาหกรรม และพักอาศัยใกล้กรุงเทพ ช่วงแรกชุมชนลำบากมาก โครงสร้างพื้นฐานไม่เพียงพอในชุมชน แต่การรวมกลุ่มและการต่อสู้ของคนในชุมชน ทำให้ได้มาซึ่งโครงสร้างพื้นฐานหลายอย่างเช่น ถนน บ่อบำบัดน้ำเสีย และทำให้คนในชุมชนสนิทสนมกัน รู้จักกัน ไว้ใจกัน ซึ่งเป็นทุนสำคัญที่ทำให้ชุมชนทำงานร่วมกันได้ดี ในด้านสุขภาพ อสม.ดูแล 12 ซอยอย่างทั่วถึง ทั้งดูแลผู้ป่วยติดเตียง และมีการรวมกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อทำกิจกรรมทุกเดือน มีการสอนอาชีพ โดยมีเครือข่ายสุขภาพ คือ มหาวิทยาลัย เทศบาล รพ.สต. ชุมชนไวท์เฮาท์ เป็นชุมชนเข้มแข็งที่ยังคงความเป็นชุมชนที่สนิทชิดเชื้อ ท่ามกลางความเป็นเมืองที่ขยายตัวเข้ามาในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

Related Posts